Biomechanical Design and Manufacturing Laboratory

Home การออกแบบทางชีวกลศาสตร์และห้องปฏิบัติการการผลิต BIOMECHANICAL DESIGN AND MANUFACTURING LABORATORY Prosthetics & Orthopedic Implants Development Current Research for Elderly (Implant) Current Research (Prosthetics and Orthotics) Current Research (Prosthetics and Orthotics) Current Research (Prosthetics and Orthotics) Near Marketable Products

ศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ

Home ศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ Smart Mobility Research Center ศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center) เป็นศูนย์วิจัยบูรณาการแห่งแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทางศูนย์วิจัยฯได้มุ่งเดินหน้าประสานความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ในคณะฯอย่างเข้มแข็ง พร้อมกับการมุ่งหาความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยเป้าหมายสู่การเดินทางขนส่งที่ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และชาญฉลาดด้วยระบบขนส่งอัจฉริยะ ที่ช่วยแก้ปัญหาจราจรและ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น รูปภาพศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ Driving Simulator for Elderly Driver Evaluation Formula student electric car Fuel cell hybrid Tuk Tuk Small EV for Active Safety and Autonomous Driving Research สามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ (Road Safety:…

ห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

Home ห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ Robotics and Automation Systems ห้องปฏิบัติวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทำงานวิจัยทางด้านการพัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยเน้นการออกแบบเป็นระบบคือ ระบบทางกล ระบบควบคุมทางพลศาสตร์ ระบบตรวจรู้ ระบบอิเลกทรอนิก และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการทำงานทั้งระบบ นอกจากนั้นห้องปฏิบัติการฯจะเน้นการทำ System Integration ของระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เป็นหลักด้วย เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาระบบการทำงานสมัยใหม่ของภาคอุตสาหกรรมตามนโยบาย industrial 4.0 นอกจากงานวิจัยทางด้านระบบหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติดังกล่าวแล้ว เรายังเน้นการพัฒนาระบบผลิตสมัยใหม่ที่สามารถทำงานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น การผลิตชิ้นงานที่ต้องการความละเอียดสูงซึ่งถือเป็นหัวใจของการพัฒนาระบบ precision machine นอกจากนั้นห้องปฏิบัติวิจัยฯยังได้ขยายงานวิจัยครอบคลุมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่ใช้ในการฟื้นฟูสมรรถนะของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ติดต่อ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ โทร 02-2186437, 02-2186448 Email: viboon.s@eng.chula.ac.th Website: www.regional-robotics.org รูปภาพห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางกลศาสตร์การคำนวณ

Home ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางกลศาสตร์การคำนวณ Center of Excellence in Computational Mechanics ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางกลศาสตร์การคำนวณได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2539 เพื่อผลักดันการวิจัยและพัฒนาแก้ปัญหาต่างๆทางวิศวกรรมด้วยระเบียบวิธีการคำนวณ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร. ปราโมทย์ เดชะอำไพ เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ บุคลากรในศูนย์ฯซึ่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. กุณฑินี มณีรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิพนธ์ วรรณโสภาคย์ ซึ่งต่างจบการศึกษาและมีความชำนาญในด้านกลศาสตร์การคำนวณโดยตรง หัวหน้าศูนย์ฯและอาจารย์ทุกท่านยังมีนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาร่วมทำงานวิจัยอีกจำนวนหนึ่ง หน้าที่หลักของอาจารย์ทุกท่านภายในศูนย์ฯคือการผลิตองค์ความรู้ใหม่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทางด้านการคำนวณ และผลักดันให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่มีความเป็นเลิศทางด้านนี้ เป้าหมายหลักของศูนย์ฯคือ เพื่อทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความเป็นเลิศในวิชาการทางด้านกลศาสตร์การคำนวณ ด้วยการสร้างและผลิตองค์ความรู้ใหม่ ในรูปแบบของบทความทางวิชาการและการแต่งตำราเพื่อยกระดับความรู้เผยแพร่ให้แก่วิศวกรในประเทศ รวมทั้งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการคำนวณเพื่อให้คำแนะนำปรับปรุงการออกแบบงานต่างๆทางวิศวกรรมแก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมไทย ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์ฯได้ผลิตบทความวิจัยกว่า 200 รายการซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารระดับนานาชาติและระดับชาติ รวมทั้งได้นำเสนอในที่ประชุมทางวิชาการต่างๆ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากหลายหน่วยงาน อาทิ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภชแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกองทัพเรือ…

ห้องปฏิบัติการระบบกลไฟฟ้าจุลภาคและนาโนเทคโนโลยี

Home ห้องปฏิบัติการระบบกลไฟฟ้าจุลภาคและนาโนเทคโนโลยี MEMS and Nanotechnology laboratory ข้อมูลทั่วไป ห้องปฏิบัติการระบบกลไฟฟ้าจุลภาคและนาโนเทคโนโลยีทำงานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นอยู่ของคนไทยให้ดีขึ้น โดยทำการพัฒนาระบบทางกลไฟฟ้าขนาดเล็กและนำเอาเทคโนโลยีด้านอนุภาคระดับนาโนเมตรมาช่วยต่อยอดประดิษฐ์ระบบเซนเซอร์ด้านต่าง ๆ เช่น ระบบส่งยาผ่านผิวหนังด้วยเข็มจุลภาค ระบบของไหลจุภาคขนาดไมโครสเกลที่ใช้ศึกษาเซลล์มะเร็งหรือสมบัติของเซลล์ต่างๆ วัสดุ กราฟีนและท่อไทเทเนียมไดออกไซด์ในระดับนาโนสเกลสำหรับงานทางการแพทย์ ไมโครแอคชัวเอเตอร์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น MEMS and Nanotechnology laboratory has conducted a research work to improve quality of life for Thai people. Nanotechnology combining with a micro-system technology has been intelligently implemented to create a variety of sensor such as micro-needle for…

ห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์

Home ห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์ MECHATRONICS DESIGN STUDIO Mechatronics Design Studio เป็นสถานที่สำหรับนักประดิษฐ์เพื่อเรียน ฝึกฝน ออกแบบ สร้าง สิ่งประดิษฐ์แมคคาทรอนิกส์ขนาดเล็กที่ทรงประสิทธิภาพ ผสานการทำงานของอุปกรณ์ประมวลผลกับระบบกลไกที่แม่นยำ เพื่อทำให้สิ่งประดิษฐ์ตอบความต้องการของมนุษย์ได้อย่างลงตัว นอกจากนี้ ยังเรียนและฝึกฝน การออกแบบด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทางวิศวกรรมที่ก้าวหน้าซึ่งมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา สถานที่ ห้อง 409 ชั้น 4 ตึกฮันต์ บันตลิ ผู้ดูแลและนักวิจัยหลัก รศ.ดร. รัชทิน จันทร์เจริญ ติดต่อ 02–2186643 Ratchatin.C@chula.ac.th วิดีโอห้องปฏิบัติการแมคคาทรอนิกส์ Play Video

ห้องปฏิบัติการการสั่นสะเทือนทางกล

Home ห้องปฏิบัติการการสั่นสะเทือนทางกล MECHANICAL VIBRATION LAB งานวิจัย ทดสอบและวิจัยด้านกลศาสตร์และการสั่นสะเทือนของชิ้นส่วนทางกล และโครงสร้างต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ใบ พัดลม ปั๊ม ฯลฯ นอกจากนี้ยังวิจัยด้านกลศาสตร์และการสั่นเทือนของอวัยวะและอวัยวะเทียมของมนุษย์ เช่น ข้อเข่า ข้อเข่าเทียม ฯลฯ สถานที่ ห้อง 301 ชั้น 3 ตึกฮันต์ บันตลิ ผู้ดูแลและนักวิจัยหลัก รศ.ดร. นภดนัย อาชวาคม และ รศ.ดร. ฐิติมา จินตนาวัน ติดต่อ 022186610-1, 022186623 nopdanai.a@chula.ac.th รูปภาพห้องปฏิบัติการการสั่นสะเทือนทางกล อุปกรณ์ห้องปฏิบัติการการสั่นสะเทือนทางกล Accelerometers (1, 3 axes) Digital signal analyzers Laser doppler vibrometer Vibration exciter

ห้องปฏิบัติการพลศาสตร์และประสิทธิภาพของเครื่องจักรกล

Home ห้องปฏิบัติการพลศาสตร์และประสิทธิภาพของเครื่องจักรกล MACHINE DYNAMICS AND EFFICIENCY LABORATORY ขอบเขตของงานวิจัย 1. พลศาสตร์ของเครื่องจักรกล 2. ประสิทธิภาพของเครื่องจักรกล การพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องจักร 3. การตรวจสอบสภาวะเครื่องจักรกลโดยการวัดการสั่นสะเทือน งานวิจัย 1. การศึกษาลักษณะการสั่นสะเทือนของคู่เฟือง สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายการสั่นสะเทือนของคู่เฟือง การสั่นสะเทือนเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความแข็งเกร็งระหว่างคู่ฟันเฟืองระหว่างการขบ การทดลองวัดการสั่นสะเทือนของคู่เฟือง 2. การวิเคราะห์กำลังสูญเสียของเฟืองและการออกแบบเฟืองเพื่อประหยัดพลังงาน ศึกษากำลังสูญเสียและประสิทธิภาพของคู่เฟืองตรง และเฟืองเฉียง โดยการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบผลของแบบจำลอง ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ชุดทดสอบเฟืองแบบ Back-to-Back ผลที่ได้จากแบบจำลองทำให้ทราบถึงผลของพารามิเตอร์ต่างๆ ต่อกำลังสูญเสีย สามารถนำผลที่ได้ไปใช้ออกแบบเฟืองเพื่อประหยัดพลังงานได้ 3. การศึกษาความเค้นบนฟันเฟือง สร้างแบบจำลองเพื่อคำนวณความเค้น โดยใช้หลักการของ Hertz stress คำนวณความเค้นสัมผัสโดยใช้ FEM ผลที่ได้ทำให้ทราบการกระจายความเค้นบนหน้าฟันเฟือง และค่าความแข็งเกร็ง (stiffness) ของฟันเฟือง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบจำลองปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับเฟือง เช่น แบบจำลองเพื่ออธิบายกำลังสูญเสีย การสั่นสะเทือน

ห้องปฏิบัติการวิจัยกลศาสตร์การแตกหัก

Home ห้องปฏิบัติการวิจัยกลศาสตร์การแตกหัก Fracture mechanics กลศาสตร์การแตกหัก (Fracture mechanics) กลศาสตร์การแตกหัก (Fracture mechanics) ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการรับภาระของวัตถุที่มีรอยร้าว (crack) และการสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเติบโตของรอยร้าวกับพารามิเตอร์ที่แสดงความรุนแรงของรอยร้าว ความรู้สาขามีประโยชน์สำหรับการประเมินสภาพของชิ้นส่วนหรือโครงสร้างที่ตรวจพบรอยร้าวว่าสามารถใช้งานต่อไปได้หรือไม่ และถ้าใช้งานต่อไปได้ จะใช้ต่อได้นานเพียงใด ทิศทางงานวิจัยของห้องปฏิบัติการฯ มีดังนี้ 1. การทดสอบ และการสร้างแบบจำลองความล้าของวัสดุ 2. การพัฒนาซอฟท์แวร์แล็บวิวสำหรับการทดสอบวัสดุ 3. การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อประเมินสภาพชิ้นส่วนที่พบรอยร้าว 4. การพัฒนาอุปกรณ์การเรียนการสอนด้านกลศาสตร์ของวัสดุ งานวิจัยที่กำลังดำเนินการคือ 1. การสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ความไม่แน่นอน (uncertainty) ของการวัดความยาวรอยร้าวล้า 2. การพัฒนาซอฟท์แวร์เชิงวัตถุ (object-oriented software) สำหรับประเมินสภาพชิ้นส่วนที่พบรอยร้าวด้วยระเบียบวิธี API 579 ผลงานของห้องปฏิบัติการ 1. โครงงานวิศวกรรม [1] พนิต เทอดสุทธิรณภูมิ, ภัทรพร สันตินรนนท์, วิโรจน์ นันทเศรษฐ์พงศ์ (2550) โปรแกรมคำนวณอายุความล้าแกนเดี่ยวด้วยวิธีความเครียดเฉพาะบริเวณ [2] ฐากูล ชลพิทักษ์พงษ์, นัฐพร…

ห้องปฏิบัติการวิจัยพลศาสตร์การไหลและการควบคุมการไหล

Home ห้องปฏิบัติการวิจัยพลศาสตร์การไหลและการควบคุมการไหล FLUID DYNAMICS AND FLOW CONTROL LABORATORY ห้องปฏิบัติการวิจัยพลศาสตร์การไหลและการควบคุมการไหลศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์และคุณลักษณะของการไหล (Flow Physics and Flow Characteristics) ควบคู่ไปกับพยายามคิดค้นหาเทคนิกการปรับแต่งควบคุมการไหล (Flow Control) ให้มีคุณลักษณะและพฤติกรรมเป็นไปตามที่ต้องการ ตัวอย่างโดยภาพรวมของการปรับแต่งควบคุมการไหลให้มีคุณลักษณะและพฤติกรรมเป็นไปตามที่ต้องการ เช่น เทคนิกการปรับแต่งควบคุมเพื่อเพิ่ม/ลดอัตราการเหนี่ยวนำการผสมและการผสม เพื่อเพิ่ม/ลดแรงต้าน เพื่อเพิ่ม/ลดอัตราการถ่ายเทพลังงานความร้อน ฯลฯ Web: http://fmeabj.lecturer.eng.chula.ac.th/FMRL/public_html/index.htm Facebook: https://www.facebook.com/Fluid-Dynamics-and-Flow-Control-121501391373876/ รูปภาพห้องปฏิบัติการวิจัยพลศาสตร์การไหลและการควบคุมการไหล