ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Engineering Program in Automotive Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ) วศ.บ.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Bachelor of Engineering
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) B.Eng.
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT
FIELDS OF STUDY : Automotive Engineering
ลักษณะและประเภทของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ระยะเวลา 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร
เชิงการจัดการ หลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรภาษาอังกฤษ
เชิงการจัดเก็บเงิน หลักสูตรปกติ หลักสูตรพิเศษ
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 147 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสามารถทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เอกสารปฐมนิเทศ
ปรัชญา ความสำคัญวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1.1 ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถเป็นผู้นำทั้งในด้านวิชาชีพและวิชาการทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาครัฐ ภาคเอกชน และวงการการศึกษา ทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค หลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จำเป็นในวิชาชีพวิศวกรรมยานยนต์ เป็นผู้ที่ครองตนได้อย่างมีสติ ปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม และยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
1.2 ความสำคัญของหลักสูตร
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมยานยนต์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพที่สามารถรองรับงานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงงานการออกแบบ การพัฒนา และวิจัยสำหรับเทคโนโลยีได้
1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเดิม (พ.ศ. 2554)
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงบทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์ทั้งสองด้าน อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล และระบบทางวิศวกรรมเครื่องกล รวมถึงบทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical tools) ต่อการวิเคราะห์ระบบทางกายภาพ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Physical system and mathematical models) ทางวิศวกรรมเครื่องกล อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการศึกษาระบบทางวิศวกรรมเครื่องกลโดยกระบวนการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา และการวิจัย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและทักษะในการประยุกต์ความรู้และความเข้าใจพื้นฐานของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลและระบบทางวิศวกรรมเครื่องกล รวมทั้งมีความสามารถ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ในการศึกษาระบบทางวิศวกรรมเครื่องกลโดยกระบวนการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา และการวิจัย อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งมีความสามารถและทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจและตระหนักในบทบาทและความสำคัญของวิชาชีพต่อสังคม อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตในการประกอบวิชาชีพ การศึกษาต่อในระดับปริญญาขั้นสูง และการวิจัย อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการเป็นผู้นำทางด้านวิชาชีพและการสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลให้แก่สังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2559)
-คงเดิม-
1.4 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลนี้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลกซึ่งประกอบด้วย 9 ด้าน 14 ประเด็น ดังนี้
1. มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก)
2. มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณ)
3. คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา)
4. ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ)
5. ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้
6. มีภาวะผู้นำ
7. มีสุขภาวะ
8. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
9. ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์
โดยที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรนี้ยังมีคุณลักษณะที่สอดคล้องตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำหนดไว้ 13 องค์ประกอบ ดังนี้
1. มีองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
– มีความรู้กว้างและรู้ลึกในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
2. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์
– สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตเครื่องกล ไปประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาในการทำโครงงานพิเศษ และในรายวิชาการฝึกงาน ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมศาสตร์
3. สามารถวิเคราะห์ปัญหา
– มีทักษะด้านการเรียนรู้ การคิดอย่างใช้เหตุผล การวิเคราะห์และกระบวนการแก้ปัญหาด้วยการวิจัยอย่างเป็นระบบ ระบุปัญหาที่ซับซ้อนได้ วิเคราะห์ปัญหาได้
4. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา
– สามารถมองนอกกรอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ตามระเบียบ ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงถึงสาธารณสุขชุมชน คำนึงถึงวัฒนธรรมและสังคม สิ่งแวดล้อม
5. สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง
– สามารถตรวจสอบ สืบค้นข้อเท็จจริง วางแผนควบคุมปัญหา/กระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลการดำเนินงาน เพื่อหาบทสรุปได้อย่างมีประสิทธิผล
6. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย
– การเลือกใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย ประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย มีทักษะในเลือกใช้เครื่องมือในการทำโครงงานทางวิศวกรรมเครื่องกลหรือได้อย่างเหมาะสมและทันสมัย สร้างเครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย
7. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม
– สามารถทำงานด้วยตนเองและสามารถทำงานในสถานะผู้นำของทีมและสมาชิกของทีม
8. สามารถติดต่อ สื่อสาร กับคณะทำงาน องค์กรวิชาชีพ กับสังคม
– สามารถอธิบายสื่อสารให้กับผู้อื่นเข้าใจได้ ทั้งในรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการ และการนำเสนอด้วยวาจา
9. ตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม
– จะต้องตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานต่อความปลอดภัย สาธารณสุขชุมชน วัฒนธรรมและสังคม และการปฏิบัติงานในเชิงกฎหมาย
10. มีจริยธรรม
– มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจรรยบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีวิสัยทัศน์ต่อวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ
11. ตระหนัก และ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
– จะต้องตระหนักและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานต่อสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานแบบยั่งยืนและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
12. การจัดการความเสี่ยงและการลงทุน ตระหนัก และ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน
– จะต้องตระหนัก และ/หรือมีความรู้ในการจัดการความเสี่ยง และการลงทุน ความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์ และสามารถบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์
13. ตระหนัก และ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ
– ตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีพ โดยเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร มีลักษณะเด่นคือ จะต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิศวกรรมเครื่องกล โดยต้องมีความสามารถในการวิจัยและมีทักษะตามมาตรฐานในระดับนานาชาติ รวมถึงมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณ และสามารถพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการและสังคมต่อไปได้อย่างยั่งยืนในประชาคมโลก
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
ระบบการจัดการศึกษาการดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
1. ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
2. ระบบทวิภาค (นานาชาติ) ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
3. ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
*มีจัดศึกษาภาคฤดูร้อน
การลงทะเบียนเรียน
ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาปกติ ไม่เกิน 9-22 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 7 หน่วยกิต
ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
การดำเนินการหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ระบบทวิภาค
ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
ระบบตรีภาค
ภาคการศึกษาที่ 1 : สิงหาคม-พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 : ธันวาคม-มีนาคม
ภาคการศึกษาที่ 3 : เมษายน-สิงหาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.)
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาซี่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้าศึกษาได้
นิสิตรหัส 61 เป็นต้นไป ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2561
นิสิตรหัส 59 และ 60 ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2559
นิสิตรหัส 58 หรือก่อนหน้า ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2554
- การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D จึงถือว่าสอบผ่าน ถ้าสอบได้เกรด F ถือว่าสอบไม่ผ่าน ถ้าเป็นรายวิชาบังคับตามหลักสูตรนิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเลือกนิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นแทนรายวิชาที่สอบไม่ผ่านได้ หรือบางรายวิชาใช้สัญลักษณ์ S หรือ U
- เกณฑ์การวัดผล ได้เกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.00
กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
- การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา
การสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชานั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบสอนในแต่ละรายวิชา จะดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus) นิสิตจะได้รับเอกสารในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน และสามารถค้นหาทางอินเตอร์เน็ตได้จากระบบข้อมูลการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย และเว็บไซต์ของภาควิชาและ เพื่อการพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น จึงต้องมีการสอบถามนิสิตด้วยแบบประเมินรายวิชาและแบบประเมินตนเอง ตลอดทั้งพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและผลการเรียนรายวิชา
- การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา
หลังจากสำเร็จการศึกษา การกำหนดกลวิธีการทวนผลการเรียนของนิสิต สามารถประเมินจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
- การได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากระยะเวลาการได้งาน
- การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตจากแบบสอบถาม
- การประเมินจากบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ ในแง่ของความพร้อมและความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ
- ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ร่วมวิเคราะห์หลักสูตร
- รางวัลที่บัณฑิตได้รับ
- ศึกษาครบตามหลักสูตร
- มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกินที่กำหนดตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ระบบการศึกษาสำหรับขั้นปริญญาบัณฑิต
- สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ระบบการศึกษาสำหรับขั้นปริญญาบัณฑิต