ประวัติภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

พ.ศ. 2456
กำเนิดภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลถือว่ากำเนิดขึ้นพร้อมกับโรงเรียนยันตรศึกษา (พ.ศ. 2456) เพราะโรงเรียนยันตรศึกษามีการสอนวิชาช่างโยธา ช่างกล และช่างไฟฟ้า ตามหลักสูตรประกาศนียบัตร 3 ปี
พ.ศ. 2456
พ.ศ. 2472
ขยายหลักสูตรขึ้นเป็น 4 ปี
ในปี พ.ศ. 2472 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ขยายหลักสูตรขึ้นเป็น 4 ปี โดยมี พระเจริญวิศวกรรม ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดี หลักสูตรดังกล่าวเมื่อเรียนจบแล้วผู้เรียนจะได้ประกาศนียบัตรวิศวกรรมขั้นสูง
พ.ศ. 2472
พ.ศ. 2474
แบ่งการเรียนในปีที่ 4 ออกเป็น 3 แผนก
ในปี พ.ศ. 2474 คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้แบ่งการเรียนในปีที่ 4 ออกเป็น 3 แผนก (ซึ่งกลายมาเป็นภาควิชาในปัจจุบัน) คือ แผนกวิศวกรรมโยธา แผนกวิศวกรรมไฟฟ้า และแผนกวิศวกรรมเครื่องกล แต่เมื่อจบการศึกษาแล้วยังได้ประกาศนียบัตรวิศวกรรมศาสตร์ชั้นสูงอยู่
พ.ศ. 2474
พ.ศ. 2476
ศาสตราจารย์ฮันสั บันลิ ผู้วางรากฐานการเรียนการสอน และหัวหน้าแผนกวิศวกรรมเครื่องกลคนแรกในปี พ.ศ.2476
แผนกวิศวกรรมเครื่องกลในตอนแรกที่เปิดสอนยังเป็นการเรียนรวมกันกับแผนกวิศวกรรมโยธา และแผนกวิศวกรรมไฟฟ้า แต่จะมาแยกเรียนเฉพาะตอนที่นิสิตอยู่ชั้นปีที่ 4 แผนกวิศวกรรมเครื่องกลได้ ศาสตราจารย์ฮันส์ บันตลิ ซึ่งเป็นชาวสวิส มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกคนแรกในปี พ.ศ.2476 ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่บุกเบิกวางรากฐาน ของการเรียนการสอนของแผนกวิศวกรรมเครื่องกล และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิศวกรรมเครื่องกลยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 จนถึงปี พ.ศ. 2502 ในช่วงแรกแผนกวิศวกรรมเครื่องกลมีอาจารย์ประจำคือ ศาสตราจารย์ฮันส์ บันตลิ คุณหลวงอนุสาสน์ยันตรกรรม คุณหลวงสุจิตภารพทยา อาจารย์เหมาะ ชลานุเคราะห์ นอกจากนั้นมีอาจารย์พิเศษจากภายนอกมาช่วยสอน
พ.ศ. 2476
พ.ศ. 2476
ประกาศใช้หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการประกาศใช้หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเป็นครั้งแรกและในปี พ.ศ. 2477 มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์แผนกวิศวกรรมโยธาจบการศึกษา 12 คน แผนกวิศวกรรมเครื่องกล 8 คน แผนกวิศวกรรมไฟฟ้า 12 คน และได้ขึ้นรับปริญญาบัตรในวันที่ 13 กรกฏาคม พ.ศ. 2478
พ.ศ. 2476
พ.ศ. 2477
ตึกวิศวกรรมหลังที่ 1
ในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการสร้างตึกวิศวกรรมหลังที่ 1 และโรงประลองวิศวกรรมโยธา ตึกวิศวกรรมหลังที่ 1 เสร็จและเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2478 ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างโรงประลอง วิศวกรรมไฟฟ้าเป็นตึก 2 ชั้น มีพื้นที่ชั้นละ 230 ตารางเมตร ชั้นล่างใช้สำหรับสอนวิชาประลองกำลังไฟฟ้า และชั้นบนใช้สำหรับสอนวิชาวิทยุและสื่อสาร ส่วนโรงไฟฟ้าเก่านั้นได้ขยายด้านสกัดออกไปทั้งสองข้างจนมีพื้นที่ถึง 350 ตารางเมตร สำหรับใช้สอนวิชาวิศวกรรมเครื่องกลโดยเฉพาะ
พ.ศ. 2477
พ.ศ. 2484
ประกาศใช้หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2484 ได้เริ่มมีหลักสูตรปริญญาโททางวิศวกรรมเครื่องกล แต่หลักสูตรได้ชะงักไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และกลับมาเริ่มใหม่ในปี พ.ศ. 2497 จากนั้นในปี พ.ศ. 2507 ภายใต้ความช่วยเหลือของแผนโคลัมโบ ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากสหราชอาณาจักรเข้ามาช่วยจัดตั้งหลักสูตรปริญญาที่สูงกว่าปริญญาตรี เป็นระดับปีที่ 5 และได้เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. 2508
พ.ศ. 2484
พ.ศ. 2509
สร้างตึก 4 ชั้น เป็นที่ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล
ปี พ.ศ. 2509 ได้มีการสร้างตึก 4 ชั้น ขึ้นแทนโรงประลองวิศวกรรมเครื่องกล โดยใช้เงินทุนช่วยเหลือของแผนโคลัมโบจากสหราชอาณาจักร ตึกใหม่นี้ใช้เป็นที่ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกล และแผนกวิศวกรรมเครื่องกลก็ได้มาย้ายมาทำการเรียนการสอนอยู่ในตึกดังกล่าว
พ.ศ. 2509
พ.ศ. 2522
เปลี่ยนมาเป็นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
แผนกวิศวกรรมเครื่องกลก็ได้เปลี่ยนมาเป็นภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ตามพระราชบัญญติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2522
พ.ศ. 2532
เปลี่ยนชื่อตึก 4 ชั้น เป็น ตึก ฮันส์ บันตลิ
เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาจิตต่อศาสตราจารย์ฮันส์ บันตลิ หัวหน้าแผนกวิศวกรรมเครื่องกลคนแรก ในวาระวันคล้ายวันเกิดครบ 88 ปีของท่าน ตึก 4 ชั้น ที่เป็นที่ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกลได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นตึกฮันส์ บันตลิ
พ.ศ. 2532

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลในปัจจุบันมีหลักสูตรที่เปิดสอนอยู่ 5 หลักสูตร

  1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2476
  2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2537
  3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2497
  4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบกายภาพที่เชื่อมประสานด้วยเครือข่ายไซเบอร์ เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2562
  5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2527

รายชื่อหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและวาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

  1. ศาสตราจารย์ฮันส์ บันตลิ พ.ศ. 2476 – 2502
  2. ศาสตราจารย์พิเศษ ปัตตะพงษ์ พ.ศ. 2502 – 2516
  3. ศาสตราจารย์ ดร. ไวกูณฐ์ ชลิตพันธุ์ พ.ศ. 2516 – 2519
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กุลธร ศิลปบรรเลง พ.ศ. 2519 – 2521
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดำรงศักดิ์ มลิลา พ.ศ. 2521 – 2522
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวี เลิศปัญญาวิทย์ พ.ศ. 2522 – 2526
  7. ศาสตราจารย์ ดร.วริทธิ์ อึ้งภากร พ.ศ. 2526 – 2534
  8. รองศาสตราจารย์ ดร.มานิจ ทองประเสริฐ พ.ศ. 2534 – 2538
  9. รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา ยงเจริญ พ.ศ. 2538 – 2542
  10. รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ไชยะภินันท์ พ.ศ. 2542 – 2546
  11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตุลย์ มณีวัฒนา พ.ศ. 2546 – 2550
  12. อาจารย์ชินเทพ เพ็ญชาติ พ.ศ. 2550 – 2555
  13. รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ พ.ศ. 2555 – 2559
  14. ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ พ.ศ. 2559 – พ.ศ.2563
  15. รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร พ.ศ.2563 – พ.ศ.2567

ตึกฮันส์ บันตลิ และ ศาสตราจารย์ฮันส์ บันตลิ

ในบรรดาอาจารย์อาวุโสที่ถือเป็นตำนานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และของ 3 ภาควิชาหลัก ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คือ ศาสตราจารย์ พระเจริญวิศวกรรม (เจริญ เชนะกุล) ศาสตราจารย์ ดร.เอม.สัน.เกเวอรต และศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ
ศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ เป็นชาวสวิส เป็นบุคคลสำคัญที่บุกเบิกและวางรากฐานของการเรียนการสอนของแผนกวิศวกรรมเครื่องกล และ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกคนแรกในปี พ.ศ. 2476 และยาวนานจนถึงปี พ.ศ. 2502

เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาจิตต่อศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ หัวหน้าแผนกวิศวกรรมเครื่องกลคนแรก ในวาระวันคล้ายวันเกิดครบ 88 ปีของท่าน ตึก 4 ชั้นที่เป็นที่ปฏิบัติการวิศวกรรมเครื่องกลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นตึกฮันส์ บันตลิ ในปัจจุบัน ตึกฮันส์ บันตลิเป็นที่ตั้งของห้องธุรการ ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ รวมถึงห้องทดลองและวิจัยของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

บันทึกการเดินทางของ ศาสตราจารย์ ฮันส์ บันตลิ

คลิกอ่านรายละเอียด (ต่อ) ที่เลข 03 ได้เลย
For further reading click at page number 03

ILLUSTRATED NARRATIVE OF A TRIP FROM SIAM TO JAPAN AND CHINA MADE IN 1936 BY PROFESSOR HANS BANTLI (1901-1993)

คลิกอ่านรายละเอียด (ต่อ) ที่เลข 1 ได้เลย
For further reading click at page number 1