M.ENG.MECH (ข้อมูลทั่วไป)
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
(ภาษาอังกฤษ) Master of Engineering Program in Mechanical Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ) วศ.ม.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Master of Engineering
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) M. Eng.
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT
FIELD OF STUDY : Mechanical Engineering
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
วิศวกรเครื่องกลที่ทำหน้าที่ วิจัย พัฒนา ออกแบบ ทดสอบ ซ่อมบำรุง ให้คำปรึกษาทางเทคนิก ควบคุมคุณภาพ บริหารจัดการโครงการ ควบคุมดูแลความปลอดภัย ในหน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
ปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1.1 ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานได้ รวมถึงสามารถดำเนินงานวิจัยได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังต้องสามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ความสำคัญของหลักสูตร
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพที่สามารถรองรับงานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงงานการออกแบบ การพัฒนา และวิจัยสำหรับเทคโนโลยีได้
**วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (กรณีหลักสูตรปรับปรุงให้ระบุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเดิมด้วย)
1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถก้าวทันเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีความเชี่ยวชาญในการเรียนรู้ ค้นคว้าและวิจัยในวิทยาการทางสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
2) สร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อการประยุกต์และถ่ายทอดให้กับสังคมได้ ที่จะทำให้บัณฑิตมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีสำนึกในภาระหน้าที่ต่อสังคม
1.4 วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง
1) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรมเครื่องกล สามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างมีหลักการ
2) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในงานภาคปฏิบัติ
3) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยปากเปล่า รวมถึงมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
4) เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถผลิตผลงานทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศได้
1.5 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับสากล โดยแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. มีองค์ความรู้
2. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้
3. สามารถวิเคราะห์ปัญหา
4. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา
5. สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง
6. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย
7. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม
8. สามารถติดต่อ สื่อสาร
9. ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม
10. มีจริยธรรม
11. ตระหนักและ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
12. ตระหนักและ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน
13. ตระหนักและ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ
แผนพัฒนาปรับปรุง
แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง | กลยุทธ์ | หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ |
---|---|---|
– ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่ สกอ. กำหนด | – พัฒนาหลักสูตรโดยมีพื้นฐานจากหลักสูตรในระดับสากล (ABET) – ติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ | – เอกสารปรับปรุงหลักสูตร – รายงานผลการประเมินหลักสูตร |
– ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการที่บัณฑิตไปทำงาน | – ติดตามความเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้ประกอบการ ด้วยการจัดทำแบบสอบถาม | – รายงานผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตของสถานประกอบการ – ความพึงพอใจในทักษะ ความรู้ความสามารถในการทำงานของของบัณฑิต โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี |
– จัดทำกิจกรรมส่งเสริมและกระตุ้นให้นิสิตสามารถทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ | – จัดการสัมมนาเพื่อให้นิสิตนำเสนอความความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ | – รายงานการนำเสนอของนิสิตในวิชาสัมมนา – ระยะเวลาในการศึกษาของนิสิตโดยเฉลี่ยลดลง |
– จัดทำระบบเพื่อช่วยควบคุมคุณภาพของบัณฑิตทั้ง 3 ด้าน ซึ่งได้แก่ ความรู้ทางวิชาการ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการดำเนินงานวิจัย | – จัดให้มีการประเมินคุณภาพของนิสิตในด้านต่าง ๆ ทั้งในช่วงของการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์และสอบวิทยานิพนธ์ | – เอกสารที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของนิสิตในด้านต่าง ๆ – ระดับคะแนนในการประเมิน |
ระบบการจัดการศึกษาการดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
1. ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
2. ระบบทวิภาค (นานาชาติ) ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
3. ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
*มีจัดศึกษาภาคฤดูร้อน
การลงทะเบียนเรียน
ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาปกติ ไม่เกิน 22 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 7 หน่วยกิต
ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
การดำเนินการหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ระบบทวิภาค
ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
ระบบตรีภาค
ภาคการศึกษาที่ 1 : สิงหาคม-พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 : ธันวาคม-มีนาคม
ภาคการศึกษาที่ 3 : เมษายน-สิงหาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แผน ก1 (สำหรับนิสิตหลักสูตรปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตแบบต่อเนื่อง เท่านั้น)
1. สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
แผน ก2
1. สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาคณิตศาสตร์, สาขาฟิสิกส์, สาขาวัสดุศาสตร์) หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.)
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาซี่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้าศึกษาได้
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
- แผน ก แบบ ก1 เน้นการทำวิจัยและต้องทำวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
- จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน – หน่วยกิต จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก2 เน้นการเรียนบรรยายเพื่อเสริมความรู้พื้นฐานระดับบัณฑิตศึกษาและต้องทำวิทยานิพนธ์ โดยแบ่งหลักสูตรออกเป็น 3 แขนงวิชา ดังนี้
คลิกเลือกเพื่อดูรายละเอียดโครงสร้างแต่ละหลักสูตร
หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนิสิต
กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F หรือใช้สัญลักษณ์ S หรือ U ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก
กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
การสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชานั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบการสอนในแต่ละรายวิชาจะดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus) นิสิตจะได้รับเอกสารในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน และสามารถค้นหาทางอินเตอร์เนทได้จากระบบข้อมูลการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
แผน ก แบบ ก1
1. เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
2. การเผยแพร่วิทยานิพนธ์ : ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม (Proceedings)
3. เกณฑ์อื่นๆ ……….ได้รับผลการประเมิน S ในรายวิชาสัมมนาวิศวกรรมเครื่องกล
แผน ก แบบ ก2
1. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
2. เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
3. การเผยแพร่วิทยานิพนธ์ :ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม(Proceedings)
4. เกณฑ์อื่นๆ ……….ได้รับผลการประเมิน S ในรายวิชาสัมมนาวิศวกรรมเครื่องกล
CPS (ข้อมูลทั่วไป)
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบกายภาพที่เชื่อมประสานด้วยเครือข่ายไซเบอร์
(ภาษาอังกฤษ) Master of Engineering Program in Cyber-Physical System
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ) วศ.ม.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Master of Engineering
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) M.Eng.
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ทักษะที่สำคัญที่ได้รับจากโปรแกรม CPS ประกอบไปด้วยการคิดและการทำงานด้วยตัวเอง, ทักษะเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม 4.0 เช่นระบบ, สถานะของระบบ, ระบบสื่อสาร และโอกาสในการร่วมงานกับกลุ่มวิจัยระดับนานาชาติ
ปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1.1 ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบกายภาพที่เชื่อมประสานด้วยเครือข่ายไซเบอร์มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการออกแบบ ประกอบ สร้าง ควบคุม จัดการ และบำรุงรักษา ระบบกายภาพสมัยใหม่ที่มีการเชื่อมประสานด้วยเครือข่ายไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย มีทักษะการเรียนรู้และการใช้ชีวิตตามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สามารถเป็นกำลังหลักให้อุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพื่อช่วยให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 ได้อย่างมั่นคง
1.2 ความสำคัญของหลักสูตร
การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ทำให้เกิดการผนวกรวมของอุปกรณ์ทางกลทั้งที่เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้ในครัวเรือนหรืออุปกรณ์หนักที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักรต่าง ๆ เข้ากับระบบข้อมูลและการสื่อสารในรูปเครือข่าย ทำให้ระบบทางกลได้รับการยกระดับให้มีความเร็วมากขึ้น (เช่นการหลบหลีกการชนโดยอัตโนมัติใน ยานยนต์สมัยใหม่) แม่นยำขึ้น (เช่นหุ่นยนต์ศัลยกรรม) ประสิทธิภาพสูงขึ้น (เช่นการใช้โดรนสำหรับการเกษตรสมัยใหม่) หรือทนทานขึ้น (เช่นหุ่นยนต์กู้ภัยในซากปรักหักพัง) จะเห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยศาสตร์ด้าน precision engineering ที่ทำให้วิศวกรสามารถออกแบบเครื่องจักรที่มีความเป็น extreme machine และมีการผนวกรวมกับข้อมูลจำนวนมาก การประมวลผลที่รวดเร็วและการสื่อสารที่มีความเป็น extreme connectivity สำหรับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย รัฐบาลได้จัดเตรียมยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเตรียมให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ยุคที่ 4 อย่างมั่นคง ดังนั้นการเตรียมบุคลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้จึงเป็นความจำเป็นอย่างเร่งด่วน หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาระบบกายภาพที่เชื่อมประสานด้วยเครือข่ายไซเบอร์มุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีทักษะประจำตัวในการรับมือกับเทคโนโลยีที่จะมาในยุคอุตสาหกรรม 4.0 อันจะเป็นรากฐานที่แข็งแรงให้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศในยุคต่อไป หลักสูตรยังประสงค์จะจัดการเรียนการสอนให้บัณฑิตมีคุณลักษณะตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 4 มาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐานที่ 1 ด้านผลลัพธ์ผู้เรียนที่กำหนดให้บัณฑิตมีคุณลักษณะ 3 ด้านคือเป็น Learner person, Innovative co-creator และ Active citizen
หลักสูตรนี้โดยพื้นฐานมีลักษณะข้ามศาสตร์ (Transdisciplinary) การดำเนินการหลักสูตรจึงจะต้องขอความร่วมมือกับภาควิชาต่าง ๆ ในคณะฯ โดยมีบุคลากรของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลเป็นกำลังหลักในการดำเนินการหลักสูตร
1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ ประกอบ สร้าง ควบคุม จัดการ และบำรุงรักษา ระบบกายภาพสมัยใหม่ที่มีการเชื่อมประสานด้วยเครือข่าย ไซเบอร์ สามารถเป็นรากฐานให้กับอุตสาหกรรมของประเทศในยุค 4.0 ได้อย่างมั่งคง
- ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะในการเรียนรู้สิ่งใหม่และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินข้อมูล รวมถึงสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1. มีองค์ความรู้
2. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้
3. สามารถวิเคราะห์ปัญหา
4. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา
5. สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง
6. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย
7. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม
8. สามารถติดต่อ สื่อสาร
9. ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม
10. มีจริยธรรม
11. ตระหนักและ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
12. ตระหนักและ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน
13. ตระหนักและ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ
ระบบการจัดการศึกษาการดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
*ไม่มีจัดศึกษาภาคฤดูร้อน
การลงทะเบียนเรียน
ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
การดำเนินการหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
• เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือเงื่อนไขอื่นที่มหาวิทยาลัยกำหนด
• มีผลการสอบภาษาต่างประเทศหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
• คุณสมบัติอื่นที่หลักสูตรกำหนดโดยเป็นไปตามประกาศการรับสมัคร
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 24
– รายวิชาบังคับ 6
– รายวิชาบังคับเลือก 12
– รายวิชาเลือก 6
จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12
หมายเหตุ นิสิตทุกคนจะต้องลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านวิชาพื้นฐาน 1 วิชาดังต่อไปนี้ โดยประเมินผลเป็น S/Uและไม่นับหน่วยกิต
คลิกเลือกเพื่อดูรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร
หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนิสิต
กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F หรือใช้สัญลักษณ์ S หรือ U ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก
กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
การสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชานั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบการสอนในแต่ละรายวิชาจะดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus) นิสิตจะได้รับเอกสารในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน และสามารถค้นหาทางอินเตอร์เนทได้จากระบบข้อมูลการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
1. ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
2. เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
3. การเผยแพร่วิทยานิพนธ์ :ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการหรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการที่มีรายงานการประชุม(Proceedings)
4. เกณฑ์อื่นๆ ……….ได้รับผลการประเมิน S ในรายวิชาสัมมนาวิศวกรรมเครื่องกล