ห้องปฏิบัติการวิจัยกลศาสตร์การแตกหัก
ห้องปฏิบัติการวิจัยกลศาสตร์การแตกหัก
Fracture mechanics
กลศาสตร์การแตกหัก (Fracture mechanics)
กลศาสตร์การแตกหัก (Fracture mechanics) ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการรับภาระของวัตถุที่มีรอยร้าว (crack) และการสร้างสหสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเติบโตของรอยร้าวกับพารามิเตอร์ที่แสดงความรุนแรงของรอยร้าว ความรู้สาขามีประโยชน์สำหรับการประเมินสภาพของชิ้นส่วนหรือโครงสร้างที่ตรวจพบรอยร้าวว่าสามารถใช้งานต่อไปได้หรือไม่ และถ้าใช้งานต่อไปได้ จะใช้ต่อได้นานเพียงใด
ทิศทางงานวิจัยของห้องปฏิบัติการฯ มีดังนี้
1. การทดสอบ และการสร้างแบบจำลองความล้าของวัสดุ
2. การพัฒนาซอฟท์แวร์แล็บวิวสำหรับการทดสอบวัสดุ
3. การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อประเมินสภาพชิ้นส่วนที่พบรอยร้าว
4. การพัฒนาอุปกรณ์การเรียนการสอนด้านกลศาสตร์ของวัสดุ
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการคือ
1. การสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ความไม่แน่นอน (uncertainty) ของการวัดความยาวรอยร้าวล้า
2. การพัฒนาซอฟท์แวร์เชิงวัตถุ (object-oriented software) สำหรับประเมินสภาพชิ้นส่วนที่พบรอยร้าวด้วยระเบียบวิธี API 579
ผลงานของห้องปฏิบัติการ
1. โครงงานวิศวกรรม
[1] พนิต เทอดสุทธิรณภูมิ, ภัทรพร สันตินรนนท์, วิโรจน์ นันทเศรษฐ์พงศ์ (2550) โปรแกรมคำนวณอายุความล้าแกนเดี่ยวด้วยวิธีความเครียดเฉพาะบริเวณ
[2] ฐากูล ชลพิทักษ์พงษ์, นัฐพร เลิศลักษณพันธ์, ภูมิพัฒณ์ มลิชัย วรุฒ พิทักษ์พงศ์สนิท (2552) การออกแบบชุดสาธิตปัญหาที่แก้ไม่ได้ด้วยวิธีทางสถิตศาสตร์
[3] พริษฐ์ ใบอดุลย์, พสธร วีระเผ่า, พัชร พุ่มกุมาร (2554) การออกแบบชุดทดลองสำหรับการสอนวิชากลศาสตร์วัสดุ
[4] กิตติภณ รุ่งวชิรา, ไกรศล ศิริวาลย์, ณัฐชา จันทรสกุล (2556) การออกแบบชุดทดลองการโก่งของก้าน
2. วิทยานิพนธ์
[1] จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย (2539) การศึกษาผลของภาระเฉลี่ย และแอมปลิจูดภาระที่มีต่ออัตราการเติบโตของรอยร้าวเนื่องจากความล้า สำหรับวัสดุ เอ.ไอ.เอส.ไอ. 4140
[2] ยอดยิ่ง หมวกงาม (2545) การพัฒนา และการประยุกต์คลิปเกจกับการทดสอบการแตกหัก
[3] ทวิช วงศ์กระบากถาวร (2546) ขั้นตอนการออกแบบและการสร้างเครื่องทดสอบความคืบแบบแกนเดียว
[4] สัจภณ เทียมทินกฤต (2547) การออกแบบและพัฒนาเครื่องทดสอบการคืบแกนเดี่ยว
[5] รัฐสิทธิ์ จันทร์วิเศษ (2548) การพัฒนาอุปกรณ์วัดระยะเคลื่อนตัวสำหรับการทดสอบการคืบแกนเดี่ยว
[6] ธนวัฒน์ กรจำรัสกุล (2548) การศึกษาการกระจายของศักย์ไฟฟ้าในแผ่นแบนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีรอยร้าวเอียงด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์
[7] ทรงพล เพิ่มทรัพย์ (2550) การพัฒนาโปรแกรมทดสอบสำหรับหาอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้า
[8] เนติพันธ์ พุทธรักษ์ (2551) การออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุสำหรับการประเมินการคงสภาพของท่อที่มีรอยร้าวด้วยระเบียบวิธี R6
[9] แผนพิชิต คุรุสรณานนท์ (2551) การพัฒนาแบบจำลองความเสียหายล้ารอบต่ำที่อุณหภูมิสูงสำหรับเหล็กกล้าไร้สนิม 316 โดยใช้แนวคิดของการสูญเสียความเหนียว
[10] จตุพร แก้วอ่อน (2555) ซอฟต์แวร์ประเมินการคงสภาพและอายุใช้งานที่เหลือของท่อมีรอยร้าวด้วย API RP 579
[11] ชาญเดช มังกรแก้ว (2557) การสร้างแบบจำลองอัตราการเติบโตของรอยร้าวล้า สำหรับเหล็กกล้า A516 เกรด 70 จากสมบัติความแข็งแรงล้า
3. หนังสือ
[1] จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย (2553) กลศาสตร์การแตกหัก
[2] จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย (2555) กลศาสตร์ของวัสดุ :ระดับต้น
[3] เจ อาร์ เทเลอร์, จิรพงศ์ กสิวิทย์อำนวย (แปล) (2556) การวิเคราะห์ความผิดพลาดเบื้องต้น : การศึกษาความไม่แน่นอนในการวัดทางกายภาพ