ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
(ภาษาอังกฤษ) Doctor of Philosophy Program in Mechanical Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ) วศ.ด.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Doctor of Philosophy
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) Ph.D.
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT
FIELD OF STUDY : Mechanical Engineering
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
60 หน่วยกิต (แบบ 1.1 และแบบ 2.1) และ 72 หน่วยกิต (แบบ 2.2)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
2. นักวิจัยในส่วนงานของรัฐและเอกชน
3. วิศวกรในหน่วยงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
ปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
ปรัชญาของหลักสูตร
เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถในการริเริ่มและทำการวิจัย พัฒนา หาองค์ความรู้ใหม่ ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล และสามารถถ่ายทอด สื่อสารผลงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของหลักสูตร
ในการพัฒนาประเทศและเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับสากล/ภูมิภาคได้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องผลิตและพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ในการทำวิจัย พัฒนา หาองค์ความรู้ใหม่
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (กรณีหลักสูตรปรับปรุงให้ระบุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเดิมด้วย)
วัตถุประสงค์เดิมของหลักสูตร
1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการเรียนรู้ ค้นคว้าและวิจัยในวิทยาการทางสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
2. เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆในการนำไปประยุกต์และถ่ายทอดวิทยาการดังกล่าวให้กับสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง
1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำวิจัย พัฒนา หาองค์ความรู้ใหม่ ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
2. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะในการสื่อสารทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยปากเปล่า รวมถึงมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
3. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่สามารถผลิตผลงานทางวิชาการทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศได้
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์สำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับสากล โดยแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. มีองค์ความรู้
2. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้
3. สามารถวิเคราะห์ปัญหา
4. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา
5. สามารถการตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง
6. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย
7. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม
8. สามารถติดต่อ สื่อสาร
9. ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม
10. มีจริยธรรม
11. ตระหนักและ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง
12. ตระหนักและ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน
13. ตระหนักและ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ
แผนพัฒนาปรับปรุง
แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง | กลยุทธ์ | หลักฐาน/ตัวบ่งชี้ |
---|---|---|
– ปรับปรุงหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่ สกอ. กำหนด | – พัฒนาหลักสูตรโดยมีพื้นฐานจากหลักสูตรในระดับสากล (ABET) – ติดตามประเมินหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ | – เอกสารปรับปรุงหลักสูตร – รายงานผลการประเมินหลักสูตร |
– ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการที่บัณฑิตไปทำงาน | – ติดตามความเปลี่ยนแปลงในความต้องการของผู้ประกอบการ ด้วยการจัดทำแบบสอบถาม | – รายงานผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้บัณฑิตของสถานประกอบการ – ความพึงพอใจในทักษะ ความรู้ความสามารถในการทำงานของของบัณฑิต โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี |
– จัดทำกิจกรรมส่งเสริมและกระตุ้นให้นิสิตสามารถทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ | – จัดการสัมมนาเพื่อให้นิสิตนำเสนอความความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ | – รายงานการนำเสนอของนิสิตในวิชาสัมมนา – ระยะเวลาในการศึกษาของนิสิตโดยเฉลี่ยลดลง |
– จัดทำระบบเพื่อช่วยควบคุมคุณภาพของบัณฑิตทั้ง 3 ด้าน ซึ่งได้แก่ ความรู้ทางวิชาการ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการดำเนินงานวิจัย | – จัดให้มีการประเมินคุณภาพของนิสิตในด้านต่าง ๆ ทั้งในช่วงของการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์และสอบวิทยานิพนธ์ | – เอกสารที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของนิสิตในด้านต่าง ๆ – ระดับคะแนนในการประเมิน |
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างของหลักสูตร
ระบบการจัดการศึกษา
- ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
- ระบบทวิภาค (นานาชาติ) ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
- ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
*การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน : ไม่มีภาคฤดูร้อน
*การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค : -ไม่มี-
การลงทะเบียนเรียน
- ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาปกติ 9-22 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 7 หน่วยกิต
- ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
การดำเนินการหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
- ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
- ระบบทวิภาค (นานาชาติ) ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
- ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
- ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาที่ 1 : สิงหาคม – พฤศจิกายน
- ภาคการศึกษาที่ 2 : ธันวาคม – มีนาคม
- ภาคการศึกษาที่ 3 : เมษายน – กรกฎาคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
แบบ 1.1 และ แบบ 2.1
1. สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาคณิตศาสตร์, สาขาฟิสิกส์, สาขาวัสดุศาสตร์) หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป
แบบ 2.2
1. สำเร็จปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หรือวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาคณิตศาสตร์, สาขาฟิสิกส์, สาขาวัสดุศาสตร์) หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้ และมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาเกียรตินิยม
2. คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศ ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
หลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประกาศของสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.)
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้
หมายเหตุ
- นิสิตทุกคนต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2103894 สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต ทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา โดยไม่นับหน่วยกิต ประเมินผลเป็น S/U
- ผู้ที่เข้าศึกษาแบบ 1.1 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนรายวิชาหรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต
คลิกเลือกเพื่อดูรายละเอียดโครงสร้างแต่ละหลักสูตร
กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F หรือใช้สัญลักษณ์ S หรือ U ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก
กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
การสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชานั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบการสอนในแต่ละรายวิชาจะดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus) นิสิตจะได้รับเอกสารในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน และสามารถค้นหาทางอินเตอร์เนทได้จากระบบข้อมูลการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
แบบ 1
- สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying exam)
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
- การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
- หลักสูตรกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์กายภาพ
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งต้องเป็นวารสารระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 ฉบับ
แบบ 2
- ได้ระดับแต้มคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
- สอบผ่านภาษาต่างประเทศอย่างน้อย 1 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ
- สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (qualifying exam)
- เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่า
- การเผยแพร่วิทยานิพนธ์
- หลักสูตรกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและวิทยาศาสตร์กายภาพ
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือยอมรับให้ตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ จำนวน 1 ฉบับ