รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร
25460011101295
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
(ภาษาอังกฤษ) Bachelor of Engineering Program in Automotive Engineering
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
(ภาษาไทย : ชื่อเต็ม) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
(ภาษาไทย : อักษรย่อ) วศ.บ.
(ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม) Bachelor of Engineering
(ภาษาอังกฤษ : อักษรย่อ) B.Eng.
ชื่อสาขาวิชาที่ระบุใน TRANSCRIPT
FIELDS OF STUDY : Automotive Engineering
ลักษณะและประเภทของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี ระยะเวลา 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร
เชิงการจัดการ หลักสูตรปกติ
เชิงการจัดเก็บเงิน หลักสูตรปกติ
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
บัณฑิตสามารถทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ ในฐานะของวิศวกรออกแบบ วิศวกรในสายงานการผลิตและการทดสอบ วิศวกรในสายงานซ่อมบำรุง ในฐานะนักวิจัยในโรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานเอกชน หน่วยงานของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และหน่วยวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และด้วยพื้นความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ที่หนักแน่นและทักษะความคิดที่ได้จากหลักสูตร บัณฑิตสามารถเรียนรู้และพัฒนาเป็นผู้ประกอบการที่โอบรับเทคโนโลยีและความท้าทายของอนาคตได้ แต่ไม่แนะนำสำหรับการทำงานที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เอกสารปฐมนิเทศ
ปรัชญา ความสำคัญวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
1.1 ปรัชญาของหลักสูตร
จากพันธกิจของหน่วยงานในการส่งมอบบัณฑิตวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ให้กับองค์กรภาคเอกชน ภาครัฐและวิชาการ และจากผลกระทบของสถานการณ์ภายนอกทั้งจากการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม รัฐ และเทคโนโลยี สามารถระบุได้ว่า ประเทศไทยมีวิกฤตทั้งในเรื่องสังคมสูงวัย อยู่ในกับดักประเทศรายได้ปานกลางและอยู่ในท่ามกลางการแข่งขันจากประเทศในภูมิภาค แต่ในวิกฤตนั้นก็ยังมีโอกาส ที่ภาคเอกชนไทยก็มีการพัฒนาอย่างแข็งขันในทั้งธุรกิจใหม่และการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจเดิมเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน
GOAL
ดังนั้น หลักสูตรมีเป้าหมายที่จะผลิตบุคลากรสมรรถนะสูงที่มีพร้อมด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อวิชาชีพที่จะเข้าไปขับเคลื่อนการพัฒนาเหล่านั้น ในด้านสมรรถนะ ความต้องการเชิงสมรรถนะประกอบด้วยพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ที่หนักแน่น การตระหนักรู้กับแนวโน้มสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ ทักษะที่พร้อมรับปัญหาที่ซับซ้อนโดยธรรมชาติและพร้อมทำงานข้ามศาสตร์ ข้ามวัฒนธรรม
METHOD
อย่างไรก็ดี โดยเปรียบเทียบแล้ว ระหว่างสมรรถนะและทัศนคติ การติดตั้งทัศนคติเป็นความท้าทายที่มากกว่า โดยสำหรับหลักสูตรแล้ว นิสิตขาเข้ามีศักยภาพสูง เหมาะกับการพัฒนาความรู้และสมรรถนะ แต่ก็มีความอ่อนไหวต่อทัศนคติเชิงบวกต่อวิชาชีพอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภายใต้แรงกดจากสภาวะเศรษฐกิจและการถอดรื้อทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อการนี้ หลักสูตรจะได้ดำเนินการในสองส่วน
ในส่วนแรก หลักสูตรจะได้ติดตั้งความรู้และสมรรถนะที่ควรต้องครอบคลุม ทั้งนี้แม้ว่าการพัฒนาจะเปลี่ยนไปได้รวดเร็ว และงานในวิชาชีพจะมีรายละเอียดที่ต่างไปได้มาก แต่โดยพื้นฐานแล้ว นิสิตต้องได้พื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ที่หนักแน่น เพื่อให้พร้อมไปฝึกฝนการใช้ความรู้ผ่านบริบทของแก่นของเทคโนโลยีของอนาคตที่ประกอบไปด้วย machine learning, AI, IOT, autonomous system และ advanced material & manufacturing
ในส่วนที่สอง หลักสูตรจะได้บ่มเพาะทัศนคติเชิงบวกต่อความท้าทาย โดยให้นิสิตได้เลือกความท้าทายที่มีให้ ฝึกฝนตนเองผ่านความท้าทายที่ตนสนใจ ภายใต้การโค้ชของอาจารย์ โดยสำหรับนิสิต การต้องเลือกความท้าทายที่ตนสนใจ ก็ถือได้ว่าเป็นความท้าทายขั้นแรก ในขณะที่ความท้าทายที่มีให้เลือกจากคณาจารย์ เมื่อมาจากวิจัยและนวัตกรรมที่มีประโยชน์สูงเพื่อสังคม ก็ถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่มีบริบทสอดคล้องและน่าจะเป็นความท้าทายที่ฝึกฝนผู้เรียนให้พร้อมกับกับแนวโน้มสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ และเมื่อนิสิตผ่านการเรียนรู้ผ่านความท้าทายในหลักสูตรมาแล้ว ก็เชื่อได้ว่านิสิตจะรู้สึกได้ว่าความท้าทายอื่นที่จะมีมาในอนาคต เป็นสิ่งที่บริหารจัดการได้ กล่าวโดยสรุปก็คือเป้าหมายของการเรียนรู้ผ่านความท้าทาย (challenge-based learning) คือการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อความท้าทาย หรือ Can-do attitude ต่อบัณฑิต
กล่าวโดยสรุปแล้ว ปรัชญาของหลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิตสาขาวิศวกรรมยานยนต์คือ ผลิตบุคลากรสาขาวิศวกรรมยานยนต์ที่มีพื้นฐานทางวิศวกรรมเครื่องกลที่หนักแน่น และความรู้ด้านวิศวกรรมยานยนต์ พร้อมทำงานกับแก่นเทคโนโลยีของอนาคต และมีพร้อมด้วยทัศนคติเชิงบวกต่อความท้าทายและความมั่นคงในคุณธรรมและจริยธรรม
1.2 ความสำคัญของหลักสูตร
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมยานยนต์มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพที่สามารถรองรับงานทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงงานการออกแบบ การพัฒนา และวิจัยสำหรับเทคโนโลยีได้
1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตร (Program Education Objective, PEO) ได้ถูกกำหนดขึ้นจากการพิจารณาข้อมูล 2 ส่วน ข้อมูลส่วนที่ 1 ได้จากการทำ Future mapping ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลในภาพกว้าง สำหรับการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพวิศวกรรมในอนาคต รวมถึงความสามารถที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพในอนาคต ผ่านกระบวนการ STEEP analysis ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ทั้งด้าน Social & Demographic, Technology, Economic, Environment & Nature และ Political & Legal การทำ STEEP analysis ทำให้ทราบถึงโอกาส ความท้าทาย รูปแบบงานในอนาคต ความสามารถใหม่ที่สำคัญในอนาคต ทั้งหมดนี้นำไปสู่การกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตในอนาคตที่เหมาะสม ทั้งด้านทักษะการคิด ทัศนคติ ความรู้และทักษะทางวิชาชีพ
ข้อมูลส่วนที่ 2 เพื่อใช้กำหนดวัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตรมาจากการทำ Industry focus โดยจะพิจารณาข้อมูลจากตลาดงานเป้าหมาย ซึ่งหมายถึงสายงานทางวิศวกรรมที่คาดว่าเหมาะสมกับบัณฑิตที่จบจากวิศวกรรมยานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บัณฑิตสามารถทำงานด้านนี้ได้เป็นอย่างดี และสามารถขับเคลื่อนประเทศในการพัฒนาต่อไป โดยตลาดงานเป้าหมายแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Sustainable energy, Material analysis, Automation & system integration และ Startup ข้อมูลส่วนนี้ได้มาจากการสัมภาษณ์กลุ่มบริษัทที่อยู่ในตลาดงานเป้าหมาย เพื่อยืนยันลักษณะงาน และสภาพการทำงานที่บัณฑิตจะได้พบเมื่อสำเร็จการศึกษา เพื่อหาทักษะและความสามารถของบัณฑิต
ข้อมูลจากทั้งสองส่วนจะนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงออกมาเป็นวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเดิม (พ.ศ. 2561)
1. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ รวมถึงบทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์ทั้งสองด้าน อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ และระบบทางวิศวกรรมยานยนต์ รวมถึงบทบาท ความสำคัญ และความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือวิเคราะห์ (Analytical tools) ต่อการวิเคราะห์ระบบทางกายภาพ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Physical system and mathematical model) ทางวิศวกรรมยานยนต์ อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการศึกษาระบบทางวิศวกรรมยานยนต์ โดยกระบวนการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา และการวิจัย
3. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและทักษะในการประยุกต์ความรู้และความเข้าใจพื้นฐานของศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ และระบบทางวิศวกรรมยานยนต์ รวมทั้งมีความสามารถ ทักษะ และความคิดสร้างสรรค์ในการศึกษาระบบทางวิศวกรรมยานยนต์ โดยกระบวนการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา และการวิจัย อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้งมีความสามารถและทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจและตระหนักในบทบาทและความสำคัญของวิชาชีพต่อสังคม อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการประกอบวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตในการประกอบวิชาชีพ การศึกษาต่อในระดับปริญญาขั้นสูง และการวิจัย อันเป็นรากฐานและองค์ประกอบที่สำคัญในการเป็นผู้นำทางด้านวิชาชีพและการสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมยานยนต์ ให้แก่สังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2566)
1. รอบรู้ต่อระบบทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ รวมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เกี่ยวข้อง และสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์ ทักษะความคิดวิเคราะห์ ทักษะประกอบรวมระบบ โดยคิดด้วยตรรกะบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็นระบบ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิต (manufacturing) ในตลาดงานยานยนต์
2. รู้เท่าทันความเป็นไปเทคโนโลยี งานทางวิศวกรรมและสังคม และสามารถริเริ่มโครงการ ระบุปัญหาและเป้าหมายได้ มองปัญหาอย่างกระจ่าง คิดเป็นองค์รวม มอบหมายงานและแจกแจงทรัพยากรได้เหมาะสมและดำเนินงานไปได้ลุล่วงในงานพัฒนาธุรกิจใหม่
3. ในทีมงานแบบสหสาขาและนานาชาติ สามารถทั้งนำทีมงาน ร่วมงานในทีมและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้ฟังที่ดี และมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง องค์กร และสังคม
1.4 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์ เกิดจากการนำวัตถุประสงค์การศึกษาของหลักสูตร (PEO) มาแจกแจงให้เป็นคุณสมบัติบัณฑิตที่เป็นรูปธรรมและวัดประเมินได้ และนำไปเปรียบเทียบกับกรอบการจัดการเรียนการสอนแบบ CDIO (Conceive, Design, Implement, Operate) หลังจากนั้นจะเรียบเรียงให้ออกมาเป็นผลลัพธ์ของหลักสูตร (Program Outcome, PO) หรือคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ต่อไป สำหรับผลลัพธ์ของหลักสูตรสามารถจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม รวมทั้งหมด 9 ข้อดังนี้
กลุ่มที่ 1 [Engineering Foundational Skills] นิสิตมีพื้นความรู้ทางเทคนิคที่หนักแน่น พร้อมสำหรับการทำงานในวิชาชีพ ผลลัพธ์ของหลักสูตรในกลุ่มนี้ได้แก่
1. สำหรับระบบทางวิศวกรรมยานยนต์ สามารถ
1.1 แจกแจงระบบทางกลที่สำคัญ ระบุชื่อชิ้นส่วนและหน้าที่สำคัญได้
1.2 ประยุกต์องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
1.3 ประยุกต์องค์ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์
2. สามารถแก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนด้วยวิธีการ
2.1 คิดวิเคราะห์โดย ระบุปัญหา ตั้งโจทย์และแบบจำลอง ประมาณค่า วิเคราะห์หาคำตอบ และประเมินผลของคำตอบ
2.2 สืบสวน/ทดลอง โดยตั้งสมมติฐาน ค้นคว้าข้อมูลเพื่อสนับสนุน ออกแบบและดำเนินการทดลอง ประมวลผลข้อมูล เพื่อยืนยันสมมติฐาน
3. สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์/ กระบวนการเพื่อตอบความต้องการด้วยวิธีการ
3.1 ออกแบบชิ้นส่วนทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์
3.2 ออกแบบระบบ และประกอบรวมระบบ (System Integration)
กลุ่มที่ 2 [Modern tool, Emerging skill] นิสิตถูกเตรียมความพร้อมกับเครื่องมือทันสมัยและทักษะเกิดใหม่ที่จำเป็นสำหรับวิชาชีพในอนาคต ผลลัพธ์ของหลักสูตรในกลุ่มนี้ได้แก่
4. สามารถใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อดำเนินงานทางวิศวกรรม
5. สามารถดำเนินโครงการพัฒนาธุรกิจใหม่
กลุ่มที่ 3 [Professional Skills – Interpersonal skills] นิสิตถูกเตรียมความพร้อมด้วยทักษะที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จของการทำงานในวิชาชีพ ผลลัพธ์ของหลักสูตรในกลุ่มนี้ได้แก่
6. สามารถนำการทำงาน และทำงานในทีม และเข้าใจลักษณะเฉพาะของทีมแบบสหสาขา
7. มีความสามารถและบุคลิกภาพในการสื่อสาร นำเสนอ รับฟังและการสนทนาอย่างสร้างสรรค์ รู้จักการเจรจาต่อรอง
กลุ่มที่ 4 [ Professional Skills – Thinking] ผลลัพธ์ของหลักสูตรในกลุ่มนี้ได้แก่
8. บอกได้ถึงแรงจูงใจและมีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ติดตามความเคลื่อนไหวของวงการวิศวกรรม บอกได้ถึงประเด็นร่วมสมัยทางสังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง ระบุได้ถึงผลกระทบของงานทางวิศวกรรมต่อสังคมและประชาคมโลก
9. มีความมั่นคงในความสุจริต (integrity) และมีความรับผิดชอบต่อองค์กรและสังคม
จะเห็นว่าหลักสูตรให้ความสำคัญ กับการประยุกต์องค์ความรู้ การดำเนินการกิจกรรมแบบ CDIO ในบริบทจำลองสถานการณ์จริงเป็นอย่างน้อย รวมถึงทักษะและทัศนคติที่เหมือนเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการปรับเปลี่ยนตนเองในบริบทปัจจุบันและตามเวลา
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรนี้มีความสอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลก ซึ่งประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ 14 ประเด็น ดังนี้
1. มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก)
2. มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณ)
3. คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา)
4. ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ)
5. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ (ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้)
6. มีภาวะผู้นำ
7. มีสุขภาวะ
8. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
9. ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์
โดยคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรมีการเชื่อมโยงกับคุณสมบัติบัณฑิตพึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดังนี้
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาฯ (9 ข้อ) | Add New | คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New |
หัวข้อ | รายละเอียด | 1.1 | 1.2 | 1.3 | 2.1 | 2.2 | 3.1 | 3.2 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
1 | มีความรู้: รู้รอบ รู้ลึก | |||||||||||||
2 | มีคุณธรรม: มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณ | |||||||||||||
3 | คิดเป็น: สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา | |||||||||||||
4 | ทำเป็น: มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ | |||||||||||||
5 | ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้: ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้ | |||||||||||||
6 | มีภาวะผู้นำ | |||||||||||||
7 | มีสุขภาวะ | |||||||||||||
8 | มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ | |||||||||||||
9 | ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์ |
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรนี้ยังมีคุณลักษณะที่สอดคล้องตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำหนดไว้ 13 องค์ประกอบ ดังนี้
1. องค์ความรู้ทาง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์: 1.1 องค์ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์, 1.2 องค์ความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์, 1.2 องค์ความรู้พื้นฐานทางเคมี, 1.4 องค์ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์, 1.5 องค์ความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมศาสตร์
2. การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์: 2.1 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์, 2.2 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์, 2.3 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์, 2.4 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้เฉพาะทางวิศวกรรมศาสตร์, 2.5 ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมศาสตร์
3. การวิเคราะห์ปัญหา: 3.1 ระบุปัญหา (ที่ซับซ้อน) ได้, 3.2 วิเคราะห์ปัญหาได้
4. การออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา: 4.1 ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงความปลอดภัย, 4.2 ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงสาธารณสุขชุมชน, 4.3 ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงวัฒนธรรมและสังคม, 4.4 ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
5. การตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง: 5.1 วางแผนกระบวนการตรวจสอบแนวทางการออกแบบ, 5.2 ดำเนินการตรวจสอบ/ควบคุม กระบวนการ/ปัญหา, 5.3 วิเคราะห์ และแปลผลการดำเนินงาน, 5.4 สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาบทสรุป
6. การใช้เครื่องมือทันสมัย: 6.1 เลือกเครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย, 6.2 ประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย, 6.3 สร้างเครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย
7. การทำงานด้วยตนเอง และการทำงานเป็นทีม: 7.1 สามารถทำงานด้วยตนเอง, 7.2 สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของทีม, 7.3 สามารถทำงานในฐานะผู้นำของทีม
8. การติดต่อ สื่อสาร: 8.1 สามารถสื่อสารกับคณะทำงาน, 8.2 สามารถสื่อสารกับองค์กรวิชาชีพ, 8.3 สามารถสื่อสารกับสังคม
9. วิศวกรและสังคม: 9.1 ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานต่อความปลอดภัย, 9.2 ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานต่อสาธารณสุขชุมชน, 9.3 ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานต่อสังคมและวัฒนธรรม, 9.4 ตระหนักและรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานเชิงกฎหมาย
10. จริยธรรม: 10.1 มีจริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต, 10.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา, 10.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ
11. สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง: 11.1 ตระหนักและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานต่อสิ่งแวดล้อม, 11.2 ปฏิบัติงาน แบบยั่งยืน, 11.3 ปฏิบัติงาน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
12. การจัดการความเสี่ยง และการลงทุน: 12.1 ตระหนักถึงความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์, 12.2 สามารถบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์
13. การเรียนรู้ตลอดชีพ: 13.1 ตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง, 13.2 สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง, 13.3 ตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีพ
และมีการเชื่อมโยงคุณสมบัติบัณฑิตพึงประสงค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์และหลักสูตรดังนี้
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (13 ข้อ) | Add New | คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New |
หัวข้อ | รายละเอียด | 1.1 | 1.2 | 1.3 | 2.1 | 2.2 | 3.1 | 3.2 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
1 | องค์ความรู้ทาง คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ | |||||||||||||
2 | การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ | |||||||||||||
3 | การวิเคราะห์ปัญหา | |||||||||||||
4 | การออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา | |||||||||||||
5 | การตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง | |||||||||||||
6 | การใช้เครื่องมือทันสมัย | |||||||||||||
7 | การทำงานด้วยตนเอง และการทำงานเป็นทีม | |||||||||||||
8 | การติดต่อ สื่อสาร | |||||||||||||
9 | วิศวกรและสังคม | |||||||||||||
10 | จริยธรรม | |||||||||||||
11 | สิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง | |||||||||||||
12 | การจัดการความเสี่ยง และการลงทุน | |||||||||||||
13 | การเรียนรู้ตลอดชีพ |
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรนี้ยังมีคุณลักษณะที่สอดคล้องตามผลลัพธ์ของการศึกษาของระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์ผลลัพธ์ของคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ (TABEE) ของสภาวิศวกร ที่กำหนดไว้ 11 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์: สามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรม เพื่อกำหนดกรอบความคิดของแบบจำลองทางวิศวกรรม หรือนิยามและประยุกต์ วิธีการ กระบวนงาน กระบวนการ หรือ ระบบงานทางวิศวกรรมในการทำงานได้
2. การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม: สามารถระบุปัญหา ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นทางเอกสาร และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนจนได้ข้อสรุปเบื้องต้น โดยใช้หลักการและเครื่องมือวิเคราะห์ ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
3. การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา: สามารถหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงานหรือกระบวนการทางวิศวกรรมตามความต้องการและข้อกำหนดงานโดยคำนึงถึงข้อกำหนดด้านสังคม ความปลอดภัย การอนามัยและสิ่งแวดล้อม หรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
4. การพิจารณาตรวจสอบ: สามารถตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งครอบคลุมถึงการตั้งสมมุติฐาน การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ การแปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล
5. การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย สามารถสร้าง เลือก และประยุกต์ใช้ เทคนิควิธี ทรัพยากร อุปกรณ์เครื่องมือทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมและทันสมัย โดยคำนึงถึงข้อกำหนดและข้อจำกัดของเครื่องมือและ อุปกรณ์นั้น
6. การทำงานร่วมกันเป็นทีม: สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายในสหสาขาวิชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานในฐานะสมาชิกของกลุ่มและผู้นำกลุ่มได้
7. การติดต่อสื่อสาร: สามารถติดต่อสื่อสารในงานวิศวกรรม วิชาชีพอื่น และบุคคลทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิผลด้วยวาจา ด้วยการเขียน รายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม ตลอดจนสามารถออกคำสั่งและรับคำสั่งงานได้อย่างชัดเจน
8. กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม: มีความเข้าใจและความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
9. จรรยาบรรณวิชาชีพ: มีความเข้าใจและยึดมั่นในจรรยาบรรณ แห่งวิชาชีพ และยึดถือตามกรอบมาตรฐาน การปฏิบัติวิชาชีพ
10. การบริหารงานวิศวกรรมและการลงทุน: มีความรู้และความเข้าใจในด้าน เศรษฐศาสตร์ การลงทุนและการบริหารงาน วิศวกรรมโดยคำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
11. การเรียนรู้ตลอดชีพ: ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ
และมีการเชื่อมโยงกับคุณสมบัติบัณฑิตพึงประสงค์ของหลักสูตรดังนี้
TABEE Program Outcome (11 ข้อ) | Add New | คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New | Add New |
หัวข้อ | รายละเอียด | 1.1 | 1.2 | 1.3 | 2.1 | 2.2 | 3.1 | 3.2 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
1 | ความรู้ทางด้านวิศวกรรมและพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ | |||||||||||||
2 | การวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม | |||||||||||||
3 | การออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหา | |||||||||||||
4 | การพิจารณาตรวจสอบ | |||||||||||||
5 | การใช้อุปกรณ์เครื่องมือทันสมัย | |||||||||||||
6 | การทำงานร่วมกันเป็นทีม | |||||||||||||
7 | การติดต่อสื่อสาร | |||||||||||||
8 | กิจกรรมสังคม สิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ ยั่งยืน และวิชาชีพวิศวกรรม | |||||||||||||
9 | จรรยาบรรณวิชาชีพ | |||||||||||||
10 | การบริหารงานวิศวกรรมและการลงทุน | |||||||||||||
11 | การเรียนรู้ตลอดชีพ |
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์
ระบบการจัดการศึกษาการดำเนินการและโครงสร้างของหลักสูตร
1. ระบบการจัดการศึกษา
- 1.1 ระบบ
- ระบบทวิภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
- ระบบทวิภาค (นานาชาติ) ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
- ระบบตรีภาค ภาคการศึกษาละไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
- 1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
- มีภาคฤดูร้อน
- ไม่มีภาคฤดูร้อน
- 1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
- - ไม่มี -
- 1.4 การลงทะเบียนเรียน
- ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาปกติ ไม่เกิน 22 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 7 หน่วยกิต
- ระดับบัณฑิตศึกษา ภาคการศึกษาปกติไม่เกิน 15 หน่วยกิต ภาคฤดูร้อน ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- ระบบทวิภาค
- ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
- ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
- ระบบทวิภาค (นานาชาติ)
- ภาคการศึกษาต้น : สิงหาคม – ธันวาคม
- ภาคการศึกษาปลาย : มกราคม – พฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : มิถุนายน – กรกฎาคม
- ระบบตรีภาค
- ภาคการศึกษาที่ 1 : สิงหาคม - พฤศจิกายน
- ภาคการศึกษาที่ 2 : ธันวาคม - มีนาคม
- ภาคการศึกษาที่ 3 : เมษายน - กรกฎาคม
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประกาศของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ).
- หลักสูตรระดับปริญญาตรี เป็นไปตามประกาศว่าด้วยการรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประกาศของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา เป็นไปตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาซี่งบัณฑิตวิทยาลัยจะประกาศให้ทราบในปีการศึกษานั้น หรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรเข้าศึกษาได้
2.3 ปัญหาของนิสิตแรกเข้า
นิสิตจำนวนมากไม่รู้ลักษณะงานด้านวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์อย่างชัดเจน ไม่รู้ความสนใจของตัวเองอย่างชัดเจน การเลือกสาขาวิชาเลือกตามคะแนน ทำให้เมื่อเข้ามาเรียนแล้วพบนิสิตบางส่วนขาดแรงจูงใจ ขาดความสนใจในการประกอบอาชีพวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์
2.4 กลยุทธ์ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจำกัดของนิสิตในข้อ 2.3
เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้นิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าใจลักษณะงานวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์มากขึ้น และเมื่อนิสิตเข้าเรียนในหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์แล้ว หลักสูตรจะเพิ่มกิจกรรมที่ทำให้นิสิตเข้าใจถึงลักษณะงานทางวิศวกรรมเครื่องกลและยานยนต์มากยิ่งขึ้น เช่น การเยี่ยมชมโรงงาน การบรรยายพิเศษ และการทำโครงานที่มีโจทย์มาจากปัญหาจริงทั้งในอุตสาหกรรม หรือหน่วยงานอื่น
หลักเกณฑ์ประเมินผล
1. กฎระเบียบหรือหลักเกณฑ์ในการให้ระดับคะแนน (เกรด)
- ระดับปริญญาตรี การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F หรือใช้สัญลักษณ์ S หรือ U
- ระดับบัณฑิตศึกษา การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F หรือใช้สัญลักษณ์ S หรือ U ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก
2. กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
2.1 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการวัดผลการเรียนรู้ของนิสิต วิธีการวัดผลจะระบุไว้ในเอกสารประมวลรายวิชา (Course Syllabus) ซึ่งได้แก่ การสอบ การสอบย่อย การทำกิจกรรมในห้องเรียน การบ้าน การปฏิบัติงานและการใช้เครื่องจักรกลการผลิต (ในรายวิชาปฏิบัติการ) การเข้าเรียน และการทำโครงงาน
นิสิตจะได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับประมวลรายวิชาในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน และสามารถค้นหาเอกสารได้จากระบบ Mycourseville ของรายวิชานั้นๆ และเพื่อการพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น จึงต้องมีการสอบถามนิสิตด้วยแบบประเมินรายวิชาและแบบประเมินตนเอง ตลอดทั้งพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและผลการเรียนรายวิชา เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอนในภาคการศึกษานั้น ผู้สอนจะจัดทำแบบรายงานการเรียนการสอน (Course portfolio) และส่งให้กรรมการหลักสูตรรับทราบถึงผลการจัดการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามเป้าประสงค์ของหลักสูตร (Program outcomes) ที่ตั้งไว้หรือไม่ ข้อมูลนี้ใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนทั้งในรายวิชาของผู้สอนเอง และรายวิชาที่เกี่ยวข้องในรอบต่อๆ ไป
2.2 การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา
หลังจากสำเร็จการศึกษา การกำหนดกลวิธีการทวนผลการเรียนของนิสิต สามารถประเมินจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
2.2.1 การได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากระยะเวลาการได้งาน
2.2.2 การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตจากแบบสอบถาม
2.2.3 การประเมินจากบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ ในแง่ของความพร้อมและความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ
2.2.4 ความเห็นจากคณะกรรมการที่ปรึกษาจากภาคอุตสาหกรรม (Industrial Advisory Board) และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ร่วมวิเคราะห์หลักสูตร
2.2.5 รางวัลที่บัณฑิตได้รับ
3. เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
- 3.1 หลักสูตรระดับปริญญาตรี
- เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดในหลักสูตร โดยต้องได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 (จากระบบ 4 ระดับคะแนน)
- เกณฑ์อื่นๆ
นิสิตรหัส 66 ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2566
นิสิตรหัส 61 ถึง 65 ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2561
นิสิตรหัส 59 และ 60 ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2559
นิสิตรหัส 58 หรือก่อนหน้า ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2554
รายวิชา Approved electives
นิสิตรหัส 61 ถึง 65 ใช้หลักสูตรยานยนต์ 2561 (อัพเดท 3 กค 2567)
- การประเมินผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D จึงถือว่าสอบผ่าน ถ้าสอบได้เกรด F ถือว่าสอบไม่ผ่าน ถ้าเป็นรายวิชาบังคับตามหลักสูตรนิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนใหม่ ถ้าเป็นรายวิชาเลือกนิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนรายวิชาอื่นแทนรายวิชาที่สอบไม่ผ่านได้ หรือบางรายวิชาใช้สัญลักษณ์ S หรือ U
- เกณฑ์การวัดผล ได้เกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.00
กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
- การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา
การสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชานั้นอาจารย์ผู้รับผิดชอบสอนในแต่ละรายวิชา จะดำเนินการตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus) นิสิตจะได้รับเอกสารในชั่วโมงแรกของชั้นเรียน และสามารถค้นหาทางอินเตอร์เน็ตได้จากระบบข้อมูลการเรียนการสอนของทางมหาวิทยาลัย และเว็บไซต์ของภาควิชาและ เพื่อการพัฒนาหลักสูตรให้ดีขึ้น จึงต้องมีการสอบถามนิสิตด้วยแบบประเมินรายวิชาและแบบประเมินตนเอง ตลอดทั้งพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและผลการเรียนรายวิชา
- การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา
หลังจากสำเร็จการศึกษา การกำหนดกลวิธีการทวนผลการเรียนของนิสิต สามารถประเมินจากตัวอย่างดังต่อไปนี้
- การได้งานทำของบัณฑิต ประเมินจากระยะเวลาการได้งาน
- การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตจากแบบสอบถาม
- การประเมินจากบัณฑิตที่ไปประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ ในแง่ของความพร้อมและความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ
- ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ร่วมวิเคราะห์หลักสูตร
- รางวัลที่บัณฑิตได้รับ
- ศึกษาครบตามหลักสูตร
- มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกินที่กำหนดตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ระบบการศึกษาสำหรับขั้นปริญญาบัณฑิต
- สอบได้แต้มเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ระบบการศึกษาสำหรับขั้นปริญญาบัณฑิต