หัวหน้าภาควิชาฯ ร่วมอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสายวิชาการ หลักสูตร The Prospects Plus เพื่อนำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ

หัวหน้าภาควิชาฯ ร่วมอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสายวิชาการ หลักสูตร The Prospects Plus เพื่อนำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม – 19 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสายวิชาการ หลักสูตร The Prospects Plus : Making the New World of Higher EducationHappenจัดโดยสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย และ บริษัท ดีกรีพลัส จำกัด ณ โรงแsม Siam@Siam เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งนำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ และระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ ณ National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ เพื่อได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการมาปรับใช้…

การบริการวิชาการให้กับการไฟฟ้านครหลวง

การบริการวิชาการให้กับการไฟฟ้านครหลวง

วันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2565 รศ.ดร.สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์ หัวหน้าโครงการศึกษาและสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการพลังงานในระบบอากาศอัด ภายใต้การสนับสนุนจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้จัดกิจกรรมออนไลน์ ทาง Zoom Application ให้แก่วิศวกร นักวิชาการ และนักบริหาร ของ กฟน. ประกอบด้วยการฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระบบอากาศอัดทั้งระบบ และการสัมมนาสรุปผลโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระบบอากาศอัดแบบบูรณาการ ที่มีศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้าจากการวิเคราะห์ทางสถิติรวม 74.96 GWh/ปี ของโรงงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 69 แห่ง และขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนรวมกว่า 16 ล้านบาท เกิดเป็นผลประหยัดที่ตรวจพิสูจน์ผลได้ในโครงการรวม 5.93 GWh/ปี หรือคิดเป็นมูลค่าจำหน่ายไฟฟ้าราว 24 ล้านบาท ของโรงงานต้นแบบ 16 แห่ง โดยมี รศ.ไชยะ แช่มช้อง และ นส.อำไพ ลิ่ววัฒนะโชตินันท์ เป็นวิทยากรในการบรรยาย โครงการนี้ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีนวัตกรรมกับระบบการจัดการพลังงานในระบบอากาศอัดที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติจริง ตั้งแต่การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการตรวจพิสูจน์ผลตามมาตรฐาน IPMVP (International Performance Measurement and Verification…

คณาจารย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเยี่ยมชมผลงานวิจัย ของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center)

คณาจารย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเยี่ยมชมผลงานวิจัย ของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center)

เมื่อวันที่ 4 กค.65 คณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ให้เกียรติมาเยี่ยมชมศูนย์วิจัย Smart Mobility Research Center โดยรับฟังการบรรยายสรุปงานส่วนต่างๆที่ศูนย์วิจัยฯได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาและในปัจจุบัน รวมทั้งทดลองนั่งรถอัตโนมัติที่ ศูนย์วิจัยฯ กำลังวิจัยด้วย

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พนมเชิง ที่ได้เข้าพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2565-2566 วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พนมเชิง ที่ได้เข้าพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2565-2566 วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Big Cleaning Day 5ส x ศปอส 2023

Big Cleaning Day 5ส x ศปอส 2023

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นำโดย รศ.ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมบุคลากร และคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ ร่วมกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ภายใต้โครงการการจัดการพื้นที่ภายในอาคารสำหรับการเรียนการสอนภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดย กิจกรรม 5ส. และโครงการแผนยกระดับความปลอดภัยในการทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ศปอส)  กิจกรรม 5ส x ศปอส คือกิจกรรม 5 ส ที่ภาควิชาฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ที่ผ่านมา มีอุปสรรคเข้ามาทดสอบบุคลากรของภาควิชาฯ ในการทำกิจกรรมบ้างแต่ก็ไม่เป็นปัญหาใดๆ เพราะความสามัคคี และความแข็งแกร่ง ทั้งนี้ภาควิชาฯ ได้เข้ารับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ ศปอส (หน่วยงานหลักของจุฬาฯ ในด้านการยกระดับความปลอดภัยในที่ทำงาน) ในด้านวัสดุ การดำเนินการ และการสำรวจเพื่อระบุข้อพึงดำเนินการเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นในปีนี้ กิจกรรม 5ส x ศปอส เหล่าบุคลากรภาควิชาฯ เราจะทำกิจกรรม 5ส โดยใช้พลังจาก ศูนย์ ศปอส ยกระดับความปลอดภัยในพื้นที่ภาควิชาฯ ทุกพื้นที่…

Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า

Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับการเยี่ยมชมจาก DR. JAMES M. MUTUA จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล JOMO KENYATTA UNIVERSITY OF AGRICULTURE AND TECHNOLOGY กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า ภายใต้ความร่วมมือของ AUN-SEEDNET ทั้งนี้ภาควิชาได้แนะนำเครื่องมือ เช่น เครื่อง FIBER LASER ตัดโลหะ ของภาควิชาฯ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดทำบุญและเปิดห้อง MESS ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดทำบุญและเปิดห้อง MESS ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดทำบุญและเปิดห้อง MESS ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 2565 โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนของชั้นสองของห้องโถงปฏิบัติการในอดีต

โครงการอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

โครงการอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

สำหรับกิจกรรมอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างงานนำเสนออย่างมืออาชีพ และใช้เทคนิคการเล่าเรื่องในการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดขึ้นวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2565 เวลา: 9.30 – 16.30 น. วิทยากร: อาจารย์ วันเฉลิม อัศวแสงรัตน์วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 เวลา: 9.30 – 16.30 น. วิทยากร: ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พรณ ตึกปฏิบัติการเครื่องกล 2 (ME2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยทีมงาน Achieve และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ขอขอบคุณท่านวิทยากร อาจารย์ วันเฉลิม อัศวแสงรัตน์ และ ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร ที่มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และเทคนิคต่างๆให้กับ ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านด้วยครับ

รับมอบทุนสนับสนุนกองทุนวิจัยจาก ISUZU ประจำปี 2565

รับมอบทุนสนับสนุนกองทุนวิจัยจาก ISUZU ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัทอีซูซุ ได้บริจาคเงินสนับสนุนกองทุนวิจัยให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวน 200,000 บาท ณ ห้องสวนรวมใจ 2 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ ทางภาควิชาฯ ขอขอบคุณ ทางกลุ่มบริษัทอีซูซุ มา ณ โอกาสนี้

อาจารย์วิศวฯ ผนึกความร่วมมือแพทย์จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คว้ารางวัลรองชนะเลิศ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 เริ่มปฏิบัติงานแล้ว ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่ อนาคตวางแผนให้ผู้ป่วยยืมหุ่นยนต์ไปใช้ที่บ้าน

อาจารย์วิศวฯ ผนึกความร่วมมือแพทย์จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คว้ารางวัลรองชนะเลิศ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 เริ่มปฏิบัติงานแล้ว ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่ อนาคตวางแผนให้ผู้ป่วยยืมหุ่นยนต์ไปใช้ที่บ้าน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงมีโอกาสฟื้นฟูร่างกายและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Rehabilitation for Stroke Patients) ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ “หุ่นยนต์นี้จะฝึกให้ผู้ป่วยใช้งานแขนและขาแบบซ้ำๆ กระตุ้นการสั่งการของสมองโดยฝึกร่วมกับระบบเกมที่ทำให้การฝึกน่าสนใจ ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ” ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์อธิบายการทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่นำไปฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ศ.ดร.วิบูลย์ กับทีมจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ นพ.วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล รองศาสตราจารย์ พญ.กฤษณา พิรเวช และ พญ.พิม ตีระจินดา ในนามทีมCUREs (Chulalongkorn University Rehabilitation Exoskeleton/End Effector system) ซึ่งล่าสุดคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทหุ่นยนต์และซอฟต์แวร์เพื่อบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข จากการประกวดหุ่นยนต์ทางการแพทย์ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ…