ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนนำคณาจารย์และบุคลากรภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเยี่ยมชมและดูงานที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนนำคณาจารย์และบุคลากรภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเยี่ยมชมและดูงานที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนนำคณาจารย์และบุคลากรภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เยี่ยมชมและดูงานที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยมี รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชา ผศ. ดร.สรัล ศาลากิจ ผู้อำนวยการศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน และ รศ. ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท รองหัวหน้าภาควิชา นำคณาจารย์และบุคคลากรในภาควิชาเข้าเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม เพื่อเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้สามารถต่อยอดพัฒนาการกระบวนการทำงานต่อไปในอนาคต โดยมี ผศ. ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) บรรยายถึงวิธีการขั้นและตอนการทำงานของสถาบัน รวมทั้งการพัฒนานักศึกษาเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมเยี่ยมชมห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิจัย และผลงานนวัตกรรมต่าง ๆ ณ พื้นที่จัดแสดงผลงาน อาคารปฏิบัติการพื้นฐาน สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการหัวข้อ Microfluidic Technology

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการหัวข้อ Microfluidic Technology

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการหัวข้อ Microfluidic Technology วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13:00 – 16.00 น.ณ ห้อง MESS ชั้น 2 ตึก ME2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ On-chip dielectrophoretic study of red blood cells ศาสตราจารย์ ดร.บุญชัย เตชะอำนาจ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย How to ไมโครฟลูอิดิกส์ คุณวิศรุต ศรีพุ่มไข่ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.   Use of micro-channel as a tool…

ประชาสัมพันธ์สัมมนาวิชาการหัวข้อ 3D Printing Technology

ประชาสัมพันธ์สัมมนาวิชาการหัวข้อ 3D Printing Technology

ขอเชิญร่วมงานสัมมนาวิชาการหัวข้อ 3D Printing Technology ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 9:00 – 12.00 น. ห้อง MESS ชั้น 2 ตึก ME2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดโดย ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เครื่องพิมพ์ชิ้นงาน  3 มิติ แบบหลายกระบวนการ (A Multi-process Digital Fabrication Machine)รองศาสตราจารย์ ดร.รัชทิน จันทร์เจริญ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติกับการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือแพทย์ (3D printing technology in medical device application)ดร.ศรัณย์ กีรติหัตถยากร หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การประยุกต์ใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติ FDM…

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน จัดสัมมนา หัวข้อ Smart Mechanical Systems for Sustainability ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์)

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน จัดสัมมนา หัวข้อ Smart Mechanical Systems for Sustainability ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์)

เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน จัดงานเสวนาในหัวข้อ Smart Mechanical Systems for Sustainability ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี กล่าวเปิดงาน และได้รับเกียรติจากวิทยากรมาร่วมให้ความรู้ในหัวข้อ“One Health Concept on Sustainable Food Security in the Region: Challenge & Opportunities” โดย ศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร.อัจฉริยา ไศละสูต ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการองค์การสมาพันธ์สมาคมสัตวแพทย์แห่งเอเซีย (FAVA) สำนักงานกรุงเทพฯ ประเทศไทย “Integrating AI in Manufacturing for Sustainability: Opportunities and Challenges” โดย…

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนหารือความร่วมมือกับบริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนหารือความร่วมมือกับบริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด

เมื่อวันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2566 บริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทด้านวิศวกรรมระบบทำความเย็นในภาคอุตสาหกรรม และเครื่องจักรอัตโนมัติในสายการปศุสัตว์แปรรูปเนื้อสัตว์ในประเทศไทยด้วยหุ่นยนต์เลาะกระดูก นำโดย Mr.Kosuke Yamamoto – Managing Director ร่วมประชุมกับคณาจารย์จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการแปรรูปเนื้อสัตว์

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนจัดประชุมร่วมกับ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช (NSTDA)

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนจัดประชุมร่วมกับ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช (NSTDA)

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนจัดประชุมร่วมกับ ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช (NSTDA) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำการดำเนินงานของศูนย์ฯ เรียนเชิญมาเป็นที่ปรึกษา และเรียนเชิญมาร่วมกิจกรรมการสัมมนาวิชาการในหัวข้อ Smart Mechanical Systems for Sustainability ซึ่งศูนย์ฯ จะจัดขึ้นในวันที่ 7 ธ.ค. 2566 รวมทั้งหารือถึงโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างคณาจารย์ในภาควิชากับหน่วยงานภายนอก ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สรัล ศาลากิจ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้กล่าวต้อนรับและแนะนำการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร นำคณาจารย์ในภาควิชาร่วมหารือถึงโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องและแนวทางในการดำเนินงานร่วมกับศูนย์ฯ ต่อไปในอนาคต

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนพร้อมคณาจารย์เยี่ยมชม บริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจ SCGC ที่จังหวัดระยอง

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนพร้อมคณาจารย์เยี่ยมชม บริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจ SCGC ที่จังหวัดระยอง

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนพร้อมคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลเยี่ยมชมบริษัท ระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ที่จังหวัดระยอง โดยมี รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชา ผศ. ดร.สรัล ศาลากิจ ผู้อำนวยการศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน รศ. ดร.ธัญญารัตน์ สิงหนาท รองหัวหน้าภาควิชา นำคณาจารย์ในภาควิชาร่วมหารือกับ คุณ โสภณ อารยะสถาพร Plant Reliability & Innovation Technology Center Manager บริษัทระยองวิศวกรรมและซ่อมบำรุง จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างภาควิชาและบริษัทเพื่อพัฒนานวัตกรรมและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในด้านที่เกี่ยวข้อง ในโอกาสนี้ คุณ วีร์ จาบถนอม Digital Asset Solution Manager ได้บรรยายถึงวิธีการพัฒนานวัตกรรมของบริษัท รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปี นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร ไปจนถึงการพัฒนาการดำเนินการให้เป็นระบบดิจิตัล การขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ ความร่วมมือทำเพื่อทำวิจัยในต่างประเทศ…

งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส” (Wireless Communication Networks and Services in AI and Metaverse Era)เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท และ โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานและกล่าวรายงานการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมระหว่างหน่วยงาน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปในโอกาสนี้รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์…

การเสวนาเปิดโลกลานเกียร์ “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

การเสวนาเปิดโลกลานเกียร์ “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

“งานบรรยายพิเศษ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์.หัวข้อเรื่อง “”โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึก 4 (เจริญวิศวกรรม).เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้ การสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลกระทบใหญ่ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ระบบงานนี้ยังสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นงานวิจัย และระบุแนวโน้มอนาคต ซึ่งทำให้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีและการสื่อสารในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพื้นที่เชื่อมโยงกันอย่างมีความสัมพันธ์ระหว่างระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สาย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโลกเสมือน (Metaverse) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาความรู้ ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด.โดยวิทยากรพิเศษ – คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธินรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม – ร้อยโท ดร. เจษฎา ศิวรักษ์หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด – ดร.พีรเดช ณ…

อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศ

อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศ

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรม เดอะ สุโกศล-กรุงเทพ ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization ซึ่งจัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ National University of Singapore ได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศและนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ให้เกิดการนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงการถอดบทเรียนจากอุปสรรคและสำรวจนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในอนาคตได้ อ่านต่อคลิกลิงค์ https://www.research.chula.ac.th/th/news/17538/?fbclid=IwAR3jPCZ7dhSQlk2U3ki9jdhNt0Hd5RuDB-Y8K4rEqvoY4TMrxx_HqMeuYHE