งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส” (Wireless Communication Networks and Services in AI and Metaverse Era)เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท และ โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานและกล่าวรายงานการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมระหว่างหน่วยงาน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปในโอกาสนี้รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์…

การเสวนาเปิดโลกลานเกียร์ “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

การเสวนาเปิดโลกลานเกียร์ “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

“งานบรรยายพิเศษ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์.หัวข้อเรื่อง “”โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึก 4 (เจริญวิศวกรรม).เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้ การสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลกระทบใหญ่ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ระบบงานนี้ยังสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นงานวิจัย และระบุแนวโน้มอนาคต ซึ่งทำให้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีและการสื่อสารในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพื้นที่เชื่อมโยงกันอย่างมีความสัมพันธ์ระหว่างระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สาย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโลกเสมือน (Metaverse) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาความรู้ ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด.โดยวิทยากรพิเศษ – คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธินรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม – ร้อยโท ดร. เจษฎา ศิวรักษ์หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด – ดร.พีรเดช ณ…

อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศ

อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศ

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรม เดอะ สุโกศล-กรุงเทพ ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization ซึ่งจัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ National University of Singapore ได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศและนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ให้เกิดการนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงการถอดบทเรียนจากอุปสรรคและสำรวจนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในอนาคตได้ อ่านต่อคลิกลิงค์ https://www.research.chula.ac.th/th/news/17538/?fbclid=IwAR3jPCZ7dhSQlk2U3ki9jdhNt0Hd5RuDB-Y8K4rEqvoY4TMrxx_HqMeuYHE

คณาจารย์จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน เข้าเยี่ยมชมโรงงาน บริษัท เบโค ไทย จำกัด

คณาจารย์จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน เข้าเยี่ยมชมโรงงาน บริษัท เบโค ไทย จำกัด

เมื่อวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.จิตติน แตงเที่ยง ผศ.ดร. สรัล ศาลากิจ อ.ดร. รอยต่อ เจริญสินโอฬาร ได้เป็นผู้แทนจากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมโรงงาน บริษัท เบโค ไทย จำกัด ที่จังหวัดระยอง เพื่อหารือเรื่องแนวทางการดำเนินงานวิจัยร่วมกันในโครงการนำร่องเพื่อศึกษาการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ (R&D Innovation Project) ร่วมกับสถาบันการศึกษา ในหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบทำความเย็นและการประหยัดพลังงาน ระบบกลไกที่เกี่ยวข้องกับตู้เย็น วัสดุทางเลือกที่เกี่ยวข้อง และระบบควบคุมและ AI เพื่อนำไปสู่ Smart Refrigerator

รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมงานเสวนา “2nd Lunch Talk: Energy Trends & Innovations Toward Net Zero Emission”

รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมงานเสวนา “2nd Lunch Talk: Energy Trends & Innovations Toward Net Zero Emission”

รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมงานเสวนา “2nd Lunch Talk: Energy Trends & Innovations Toward Net Zero Emission” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) โดยนำเสนอพลังงานทางเลือก ในหัวข้อ “Electromobility & Energy Storage – roles in energy transition and climate resiliency” .ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.research.chula.ac.th/th/news/17366/