รายงานข่าว Research Talk Series #4 – งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 4

รายงานข่าว Research Talk Series #4 – งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 4

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567 ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดกิจกรรม Research Talk Series #4 – งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 4 ณ ห้อง MESS ตึก ME2 ชั้น 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ สิงหถนัดกิจ เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “เหลียวหลังแลหน้ากับงานวิจัยของภาควิศวกรรมเครื่องกล” โดยได้เล่าประสบการณ์การทำงานวิจัยร่วมกับคณะอื่น พร้อมตั้งข้อสังเกตและให้คำแนะนำสำหรับการทำงานวิจัยร่วมกันให้ประสบความสำเร็จโดยมีคณาจารย์และบุคลากรของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโอกาสนี้

Webinar “ความเสี่ยงของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ธุรกิจประกันภัยควรรู้”

Webinar “ความเสี่ยงของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าที่ธุรกิจประกันภัยควรรู้”

เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม 2567 รศ. ดร.อังคีร์ ศรีภคากร และ ดร.อัศวิน สาลี จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้บรรยายทาง webinar ในหัวข้อ EV Battery Risks “ความเสี่ยงของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า” ที่ธุรกิจประกันภัยควรรู้ ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย และ TQR เพื่อให้ความรู้ด้านการทำงานของแบตเตอรี่รถยนต์ อายุการใช้งาน ปัจจัยในการเสื่อมสภาพ และการประเมินมูลค่าของแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว

กิจกรรม Research Talk Series#3 งานวิจัยเล่าสนุกครั้งที่ 3

กิจกรรม Research Talk Series#3 งานวิจัยเล่าสนุกครั้งที่ 3

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จัดกิจกรรม Research Talk Series #3 – งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 3 หัวข้อFrom innovation research to patient benefit (sPace Dynamic Prosthetic Foot) โดย รศ. ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ และ รศ. ดร.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18กรกฎาคม 2567 ณ ห้อง MESS ตึก ME2 ชั้น 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้บรรยายถึงประสบการณ์การทำงานวิจัยด้าน Biomechanics อันนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมเท้าเทียมสำหรับผู้พิการขาขาดซึ่งมีประสิทธิภาพในราคาที่เข้าถึงได้

เรื่องเล่าจากงาน Research Talk Series #2

เรื่องเล่าจากงาน Research Talk Series #2

                       “ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนจัดกิจกรรม Research Talk Series #2 – งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 2 มีการนำเสนอ 2 หัวข้อ คือ 1) Smart Mobility โดย ผศ. ดร.นักสิทธ์ นุ่มวงษ์ และ 2) งานวิจัยด้านเกี่ยวกับ MRV สำหรับภาคอุตสาหกรรม โดย รศ. ดร. จิตติน แตงเที่ยง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 ณ ห้อง MESS ตึก ME2 ชั้น 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย…

กิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ประเทศไต้หวัน

กิจกรรมศึกษาดูงาน ณ ประเทศไต้หวัน

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนนำคณาจารย์และบุคลากรภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ไปเยี่ยมชมและดูงาน ณ ประเทศไต้หวัน เมื่อวันที่ 15 – 18 พฤษภาคม 2567 โดยได้เดินทางไปยัง 1. ITRI INDUSTRIAL TECHNOLOGY RESEARCH INSTITUTE องค์กรด้านวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมชั้นนำของไต้หวัน (และของโลก) แห่งหนึ่ง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิคส์ของไต้หวัน ทาง ITRI INDUSTRIALTECHNOLOGY RESEARCH INSTITUTE ได้ให้ความรู้และแนะวิวัฒนาการด้านด้านพัฒนาและการวิจัยด้านต่าง ๆ อาทิเช่น การวิจัยและพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ การวิจัยและพัฒนาทางด้านการออกแบบและขึ้นรูปชิ้นงานเพื่อรองรับความแข็งแรง เช่น เฟรมรถจักรยานแข่งขัน ไม้เทนนิส การวิจัยและพัฒนาทางด้านการแพทย์ การพัฒนาและวิจัยทางด้านระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และด้านอื่น ๆ และเยี่ยมชมการพัฒนาระบบรถยนต์ไฟฟ้าที่ทาง ITRI INDUSTRIAL TECHNOLOGY RESEARCH INSTITUTE ได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบ และได้ทดสอบนั่งรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งได้นำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปติดตั้งในระบบ 2. MINTH UNIVERSITY OF SCIENCE…

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) จัดบรรยาย Trend-driven Innovation

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) จัดบรรยาย Trend-driven Innovation

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้จัดบรรยายหัวข้อ Trend-driven Innovation เพื่อสร้างความเข้าใจแนวโน้มของโลกที่ส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมแห่งยุคสมัย อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการที่สอดคล้องกับทิศทางของโลก เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ณ ห้อง 201A ชั้น 2 ตึก 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงาน คุณรัชดา อภิรมย์เดช วิทยากร และผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ SimpleWork ซึ่งเป็น Exclusive Partner หนึ่งเดียวในประเทศไทยของ Trendwatching บริษัทที่รวบรวมข้อมูลเทรนด์ผู้บริโภคจากการติดตามแนวโน้มนวัตกรรมของทีมงานกว่า 3,000 คน จาก 35 ประเทศในทุกทวีปทั่วโลก ได้บรรยายถึงเทรนด์ทั้งในด้าน Environment-all, Brand butler และ Beneficial intelligence โดยทั้ง 3 เทรนด์ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองตอบความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน อันเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนางานวิชาการและงานวิจัยต่าง ๆ ของคณาจารย์ให้สอดคล้องไปกับเทรนด์โลก…

กิจกรรม Research Talk  Series #2 –  งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 2

กิจกรรม Research Talk  Series #2 –  งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 2

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนจัดกิจกรรม Research Talk  Series #2 –  งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 2 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2567 เวลา 11.30-13.00 น. ณ ห้อง MESS ตึก ME2 ชั้น 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยบรรยายหัวข้อเรื่อง งานวิจัยด้าน Smart Mobility การทำงานร่วมกันในหลากหลายสหสาขาวิชา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นักสิทธ์ นุ่มวงษ์ และงานวิจัยด้านเกี่ยวกับ MRV สำหรับภาคอุตสาหกรรม โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติ แตงเที่ยง ได้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ให้แก่บุคลากรของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และบุคคลจากหน่วยงานภายนอกที่เข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรม Research Talk  Series #1 –  งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 1

กิจกรรม Research Talk  Series #1 –  งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 1

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืนจัดกิจกรรม Research Talk  Series #1 –  งานวิจัยเล่าสนุก ครั้งที่ 1 หัวข้อ Microfluidics for Biomedical Applications: Ten Years Experience / ประสบการณ์การทำงานวิจัยทางด้านไมโครฟลูอิดิกส์สำหรับการใช้งานด้านชีวการแพทย์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567 ณ ห้อง MESS ตึก ME2 ชั้น 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ. ดร.อลงกรณ์  พิมพ์พิณ ได้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ เทคนิคการทำวิจัยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ให้แก่บุคลากรของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และบุคคลจากหน่วยงานภายนอกที่เข้าร่วมกิจกรรม

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) นำคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลศึกษาการดำเนินงานและหารือความร่วมมือกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) นำคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลศึกษาการดำเนินงานและหารือความร่วมมือกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลศึกษาการดำเนินงานและหารือความร่วมมือโครงการศูนย์กลางด้านความรู้การพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4-5 มีนาคม 2567 ในโอกาสนี้ รศ.ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และ ผศ.ดร.สรัล ศาลากิจ ผู้อำนวยการศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) นำคณาจารย์ศึกษาการดำเนินงานของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) โดย ดร.วิภู รุโจปการ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) บรรยายการดำเนินงานของ สดร. และ ดร.ทรงพล มั่นคงสุจริต ผู้อำนวยการกลุ่มงานการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมต้อนรับและนำเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการของศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ และห้องปฏิบัติการต่าง ๆ คณาจารย์ได้ร่วมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือทั้งในด้านการศึกษาและการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบระบบเชิงกลของยานอวกาศ (Spacecraft mechanical system) ซึ่งเป็นระบบเชิงกลที่มีความซับซ้อน ภายใต้สภาวะที่สุดขั้ว จึงจำเป็นจะต้องมีการออกแบบที่แม่นยำ ตั้งแต่ศาสตร์ของวิศวกรรมวัสดุในการออกแบบและทดสอบวัสดุ การออกแบบระบบให้ทนต่อการสั่นของกระสวยอวกาศ และการออกแบบให้ระบบสามารถปฏิบัติภารกิจได้ภายใต้อุณหภูมิที่ร้อนและเย็นสุดขั้ว รวมถึงโอกาสในการร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน จัดสัมมนาวิชาการหัวข้อ 3D Printing Technology และ Microfluidic Technology

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน จัดสัมมนาวิชาการหัวข้อ 3D Printing Technology และ Microfluidic Technology

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน (SMSS) จัดสัมมนาวิชาการหัวข้อ 3D Printing Technology และ Microfluidic Technology ในวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 9:00 – 15:30 น. ณ ห้อง MESS ชั้น 2 ตึก ME2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการแก่นิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยมีวิทยากรจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. ร่วมให้ความรู้ ภายในงานมีผู้ร่วมงานจากภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย นับเป็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานจริงระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคการศึกษา ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถนำความรู้ทางวิชาการมาปรับใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยอันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยต่อไป