พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา 2565 วันที่5 และ 6 ตุลาคม 2566

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา 2565 วันที่5 และ 6 ตุลาคม 2566

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ปีการศึกษา 2565 วันพฤหัสบดีที่ 5 ตุลาคม 2566 และ วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ขอแสดงความยินดีกับบัณฑิต , มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตทุกท่าน

งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

ศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) จัดเสวนาทางวิชาการเรื่อง งานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส” (Wireless Communication Networks and Services in AI and Metaverse Era)เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดบริษัท และ โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานและกล่าวรายงานการสนับสนุนความร่วมมือในการจัดกิจกรรมระหว่างหน่วยงาน ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปในโอกาสนี้รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์…

การเสวนาเปิดโลกลานเกียร์ “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

การเสวนาเปิดโลกลานเกียร์ “โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”

“งานบรรยายพิเศษ ภายใต้โครงการอาศรมความคิด อรุณ สรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) และมูลนิธิอรุณ สรเทศน์ ร่วมกับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์.หัวข้อเรื่อง “”โครงข่ายการสื่อสารไร้สายและบริการในยุคเอไอและเมตาเวิร์ส”ในวันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน 2566ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึก 4 (เจริญวิศวกรรม).เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับความรู้ การสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีที่มีผลกระทบใหญ่ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ระบบงานนี้ยังสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นงานวิจัย และระบุแนวโน้มอนาคต ซึ่งทำให้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีและการสื่อสารในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในพื้นที่เชื่อมโยงกันอย่างมีความสัมพันธ์ระหว่างระบบเครือข่ายสื่อสารไร้สาย ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และโลกเสมือน (Metaverse) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาความรู้ ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างนวัตกรรมในสาขาเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด.โดยวิทยากรพิเศษ – คุณสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธินรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม – ร้อยโท ดร. เจษฎา ศิวรักษ์หัวหน้างานฝ่ายรัฐกิจและธุรกิจสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด – ดร.พีรเดช ณ…

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 2566 ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Tokyo Institute of Technology

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ 2566 ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Tokyo Institute of Technology

คณาจารย์ และนิสิต ภายใต้กิจกรรมรายวิชาส่วนกลาง 2100310 Global Awareness in Technology เข้าศึกษาดูงานทางด้าน Mataverse และ Autonomous Shuttle pod ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดย รศ.ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาคฯ และ รศ.ดร.กฤษฎา พนมเชิง ร่วมให้ข้อมูล อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ คลิกที่นี่

อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศ

อาจารย์ประจำภาควิชาฯ เข้าร่วม workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศ

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ ห้องกมลมาศ ชั้น 6 โรงแรม เดอะ สุโกศล-กรุงเทพ ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ workshop: Net-Zero Energy and Decarbonization ซึ่งจัดโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ National University of Singapore ได้ร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดคาร์บอนในประเทศและนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ให้เกิดการนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) รวมถึงการถอดบทเรียนจากอุปสรรคและสำรวจนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายในอนาคตได้ อ่านต่อคลิกลิงค์ https://www.research.chula.ac.th/th/news/17538/?fbclid=IwAR3jPCZ7dhSQlk2U3ki9jdhNt0Hd5RuDB-Y8K4rEqvoY4TMrxx_HqMeuYHE

หัวหน้าภาควิชาฯ ร่วมอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสายวิชาการ หลักสูตร The Prospects Plus เพื่อนำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ

หัวหน้าภาควิชาฯ ร่วมอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสายวิชาการ หลักสูตร The Prospects Plus เพื่อนำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม – 19 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมอบรมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสายวิชาการ หลักสูตร The Prospects Plus : Making the New World of Higher EducationHappenจัดโดยสำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย และ บริษัท ดีกรีพลัส จำกัด ณ โรงแsม Siam@Siam เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ในด้านการบริหารจัดการ รวมทั้งนำยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติ และระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 ได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ ณ National University of Singapore (NUS) ประเทศสิงคโปร์ เพื่อได้มีโอกาสแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการมาปรับใช้…

คณาจารย์จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน เข้าเยี่ยมชมโรงงาน บริษัท เบโค ไทย จำกัด

คณาจารย์จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน เข้าเยี่ยมชมโรงงาน บริษัท เบโค ไทย จำกัด

เมื่อวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 รศ.ดร.จิตติน แตงเที่ยง ผศ.ดร. สรัล ศาลากิจ อ.ดร. รอยต่อ เจริญสินโอฬาร ได้เป็นผู้แทนจากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมโรงงาน บริษัท เบโค ไทย จำกัด ที่จังหวัดระยอง เพื่อหารือเรื่องแนวทางการดำเนินงานวิจัยร่วมกันในโครงการนำร่องเพื่อศึกษาการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ (R&D Innovation Project) ร่วมกับสถาบันการศึกษา ในหัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบทำความเย็นและการประหยัดพลังงาน ระบบกลไกที่เกี่ยวข้องกับตู้เย็น วัสดุทางเลือกที่เกี่ยวข้อง และระบบควบคุมและ AI เพื่อนำไปสู่ Smart Refrigerator

รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมงานเสวนา “2nd Lunch Talk: Energy Trends & Innovations Toward Net Zero Emission”

รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมงานเสวนา “2nd Lunch Talk: Energy Trends & Innovations Toward Net Zero Emission”

รองศาสตราจารย์ ดร.อังคีร์ ศรีภคากร จากศูนย์ระบบเครื่องกลชาญฉลาดเพื่อความยั่งยืน หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมงานเสวนา “2nd Lunch Talk: Energy Trends & Innovations Toward Net Zero Emission” เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) โดยนำเสนอพลังงานทางเลือก ในหัวข้อ “Electromobility & Energy Storage – roles in energy transition and climate resiliency” .ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.research.chula.ac.th/th/news/17366/

การบริการวิชาการให้กับการไฟฟ้านครหลวง

การบริการวิชาการให้กับการไฟฟ้านครหลวง

วันที่ 11 – 12 พฤษภาคม 2565 รศ.ดร.สมพงษ์ พุทธิวิสุทธิศักดิ์ หัวหน้าโครงการศึกษาและสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการพลังงานในระบบอากาศอัด ภายใต้การสนับสนุนจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้จัดกิจกรรมออนไลน์ ทาง Zoom Application ให้แก่วิศวกร นักวิชาการ และนักบริหาร ของ กฟน. ประกอบด้วยการฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระบบอากาศอัดทั้งระบบ และการสัมมนาสรุปผลโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในระบบอากาศอัดแบบบูรณาการ ที่มีศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้าจากการวิเคราะห์ทางสถิติรวม 74.96 GWh/ปี ของโรงงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 69 แห่ง และขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุนรวมกว่า 16 ล้านบาท เกิดเป็นผลประหยัดที่ตรวจพิสูจน์ผลได้ในโครงการรวม 5.93 GWh/ปี หรือคิดเป็นมูลค่าจำหน่ายไฟฟ้าราว 24 ล้านบาท ของโรงงานต้นแบบ 16 แห่ง โดยมี รศ.ไชยะ แช่มช้อง และ นส.อำไพ ลิ่ววัฒนะโชตินันท์ เป็นวิทยากรในการบรรยาย โครงการนี้ได้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงเทคโนโลยีนวัตกรรมกับระบบการจัดการพลังงานในระบบอากาศอัดที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติจริง ตั้งแต่การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและการตรวจพิสูจน์ผลตามมาตรฐาน IPMVP (International Performance Measurement and Verification…

คณาจารย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเยี่ยมชมผลงานวิจัย ของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center)

คณาจารย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเยี่ยมชมผลงานวิจัย ของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center)

“คณาจารย์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเยี่ยมชมผลงานวิจัย ของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center) Introduction to UNITED Engineering Knowledge Transfer Units to Increase Students’Employability and Regional Development ProjectIntroduction to Chulalongkorn Engineering Knowledge Transfer Unit TrainingIntroduction to Smart Mobility Research CenterLaboratory visit and demonstration• CU Digital Twins project• Autonomous delivery vehicle prototype• Driving simulator• 5G Teleoperated and autonomous vehicle prototype• Autonomous shuttle…