ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พนมเชิง ที่ได้เข้าพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2565-2566 วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษดา พนมเชิง ที่ได้เข้าพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2565-2566 วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Big Cleaning Day 5ส x ศปอส 2023

Big Cleaning Day 5ส x ศปอส 2023

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นำโดย รศ.ดร.อังคีร์ ศรีภคากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล พร้อมบุคลากร และคณาจารย์ประจำภาควิชาฯ ร่วมกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ภายใต้โครงการการจัดการพื้นที่ภายในอาคารสำหรับการเรียนการสอนภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดย กิจกรรม 5ส. และโครงการแผนยกระดับความปลอดภัยในการทำงานตามมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ (ศปอส)  กิจกรรม 5ส x ศปอส คือกิจกรรม 5 ส ที่ภาควิชาฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้ในช่วงวิกฤตโควิด 19 ที่ผ่านมา มีอุปสรรคเข้ามาทดสอบบุคลากรของภาควิชาฯ ในการทำกิจกรรมบ้างแต่ก็ไม่เป็นปัญหาใดๆ เพราะความสามัคคี และความแข็งแกร่ง ทั้งนี้ภาควิชาฯ ได้เข้ารับการสนับสนุนงบประมาณจากศูนย์ ศปอส (หน่วยงานหลักของจุฬาฯ ในด้านการยกระดับความปลอดภัยในที่ทำงาน) ในด้านวัสดุ การดำเนินการ และการสำรวจเพื่อระบุข้อพึงดำเนินการเพื่อความปลอดภัย ดังนั้นในปีนี้ กิจกรรม 5ส x ศปอส เหล่าบุคลากรภาควิชาฯ เราจะทำกิจกรรม 5ส โดยใช้พลังจาก ศูนย์ ศปอส ยกระดับความปลอดภัยในพื้นที่ภาควิชาฯ ทุกพื้นที่…

Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า

Jomo Kenyatta University of Agriculture and Technology กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า

วันที่ 26 สิงหาคม 2565 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับการเยี่ยมชมจาก DR. JAMES M. MUTUA จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล JOMO KENYATTA UNIVERSITY OF AGRICULTURE AND TECHNOLOGY กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า ภายใต้ความร่วมมือของ AUN-SEEDNET ทั้งนี้ภาควิชาได้แนะนำเครื่องมือ เช่น เครื่อง FIBER LASER ตัดโลหะ ของภาควิชาฯ

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดทำบุญและเปิดห้อง MESS ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดทำบุญและเปิดห้อง MESS ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจัดทำบุญและเปิดห้อง MESS ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 2565 โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นส่วนของชั้นสองของห้องโถงปฏิบัติการในอดีต

โครงการอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

โครงการอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

สำหรับกิจกรรมอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างงานนำเสนออย่างมืออาชีพ และใช้เทคนิคการเล่าเรื่องในการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดขึ้นวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2565 เวลา: 9.30 – 16.30 น. วิทยากร: อาจารย์ วันเฉลิม อัศวแสงรัตน์วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 เวลา: 9.30 – 16.30 น. วิทยากร: ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พรณ ตึกปฏิบัติการเครื่องกล 2 (ME2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยทีมงาน Achieve และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ขอขอบคุณท่านวิทยากร อาจารย์ วันเฉลิม อัศวแสงรัตน์ และ ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร ที่มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และเทคนิคต่างๆให้กับ ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านด้วยครับ

รับมอบทุนสนับสนุนกองทุนวิจัยจาก ISUZU ประจำปี 2565

รับมอบทุนสนับสนุนกองทุนวิจัยจาก ISUZU ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัทอีซูซุ ได้บริจาคเงินสนับสนุนกองทุนวิจัยให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวน 200,000 บาท ณ ห้องสวนรวมใจ 2 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ ทางภาควิชาฯ ขอขอบคุณ ทางกลุ่มบริษัทอีซูซุ มา ณ โอกาสนี้

อาจารย์วิศวฯ ผนึกความร่วมมือแพทย์จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คว้ารางวัลรองชนะเลิศ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 เริ่มปฏิบัติงานแล้ว ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่ อนาคตวางแผนให้ผู้ป่วยยืมหุ่นยนต์ไปใช้ที่บ้าน

อาจารย์วิศวฯ ผนึกความร่วมมือแพทย์จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คว้ารางวัลรองชนะเลิศ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 เริ่มปฏิบัติงานแล้ว ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่ อนาคตวางแผนให้ผู้ป่วยยืมหุ่นยนต์ไปใช้ที่บ้าน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงมีโอกาสฟื้นฟูร่างกายและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Rehabilitation for Stroke Patients) ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ “หุ่นยนต์นี้จะฝึกให้ผู้ป่วยใช้งานแขนและขาแบบซ้ำๆ กระตุ้นการสั่งการของสมองโดยฝึกร่วมกับระบบเกมที่ทำให้การฝึกน่าสนใจ ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ” ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์อธิบายการทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่นำไปฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ศ.ดร.วิบูลย์ กับทีมจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ นพ.วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล รองศาสตราจารย์ พญ.กฤษณา พิรเวช และ พญ.พิม ตีระจินดา ในนามทีมCUREs (Chulalongkorn University Rehabilitation Exoskeleton/End Effector system) ซึ่งล่าสุดคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทหุ่นยนต์และซอฟต์แวร์เพื่อบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข จากการประกวดหุ่นยนต์ทางการแพทย์ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ…

สุดยอดฝีมือคนไทย หุ่นฝึกตรวจจอตา “OPH-SIM” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และคณะวิศวะฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศหลายเท่า

สุดยอดฝีมือคนไทย หุ่นฝึกตรวจจอตา “OPH-SIM” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และคณะวิศวะฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศหลายเท่า

การตรวจวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับจอตาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำเพื่อความสบายตาของคนไข้ที่ไม่ต้องจ้องแสงจ้านานเกินไป ซึ่งตรงนี้ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ตรวจ หุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ในการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ปัจจุบัน มีการใช้หุ่นฝึกตรวจจอตาอยู่แล้ว แต่เป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการฝึกและเรียนรู้กรณีศึกษาได้มากนัก ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล รองศาสตราจารย์ นพ.ศุภพงศ์ ถิรคุณวิชชะ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงร่วมกันพัฒนา “Oph-Sim” หุ่นฝึกตรวจจอตา ฝีมือคนไทย เพื่อให้นิสิตและแพทย์ที่สนใจฝึกฝนทักษะการตรวจจอตาได้อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง รศ.พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “ทักษะการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของขั้วประสาทตาและจอตา เป็นทักษะสำคัญของแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา เนื่องจากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับตาและโรคอื่นๆทางระบบประสาทที่สำคัญได้ เช่น ขั้วประสาทตาบวมจากความดันในสมองสูง จอตาเสื่อมเหตุเบาหวาน และต้อหิน” รศ.พญ สุภรัตน์ กล่าว การฝึกตรวจจอตาด้วยหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ผ่านอุปกรณ์ direct ophthalmoscope “ที่ผ่านมา นิสิตแพทย์ฝึกการตรวจจอตาด้วยเครื่อง direct ophthalmoscope กับหุ่นฝึกตรวจตาที่นำเข้าจากต่างประเทศ…

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564

สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บของราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/004/T_0022.PDF

WFH FOR LABORATORY

WFH FOR LABORATORY

Play Video เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด จุฬาฯ ได้ปรับแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ 100% ทำให้การเรียนการสอนวิชาปฎิบัติการถูกปรับไปเป็นรูปแบบ LAB Clips และ Online data เพื่อใช้สำหรับสอนแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ด้วยความร่วมมือของอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราได้พัฒนาชุด Laboratory@Home ซึ่งเป็นชุดทดลอง สำหรับการเรียนวิชาปฏิบัติการที่บ้าน ชุดทดลองดังกล่าวมีคุณภาพเทียบเท่ากับชุดทดลองที่ใช้ที่มหาวิทยาลัย แต่ขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ราคาถูก คงทน และสามารถส่งไปยังบ้านของนิสิตทางไปรษณีย์ได้ ขณะนี้ชุด Laboratory@Home: Stress Analysis in Beam ได้พัฒนาเสร็จสิ้นและใช้ในการเรียนการสอนในภาคต้น ปีการศึกษา 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทางอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล กำลังพัฒนาชุดทดลอง PID Motion Control with Matlab ต่อไป ซึ่งจะใช้สำหรับให้นิสิตทำการทดลองที่บ้านในภาคการศึกษานี้เช่นเดียวกัน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือคุณครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมที่สนใจชุดทดลองสำหรับการเรียนการสอนนักเรียนในมหาวิทยาลัยหรือในโรงเรียน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดมาที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (ติดต่อ กฤษฎา email: gridsada.phanomchoeng@gmail.com)