โครงการอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

โครงการอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล

สำหรับกิจกรรมอบรมทักษะการสื่อสารและการผลิตสื่อให้กับนิสิตและบุคลากร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างงานนำเสนออย่างมืออาชีพ และใช้เทคนิคการเล่าเรื่องในการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดขึ้นวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2565 เวลา: 9.30 – 16.30 น. วิทยากร: อาจารย์ วันเฉลิม อัศวแสงรัตน์วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 เวลา: 9.30 – 16.30 น. วิทยากร: ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พรณ ตึกปฏิบัติการเครื่องกล 2 (ME2) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดยทีมงาน Achieve และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ขอขอบคุณท่านวิทยากร อาจารย์ วันเฉลิม อัศวแสงรัตน์ และ ผศ. ดร.ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร ที่มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และเทคนิคต่างๆให้กับ ผู้เข้ารับการอบรมทุกท่านด้วยครับ

รับมอบทุนสนับสนุนกองทุนวิจัยจาก ISUZU ประจำปี 2565

รับมอบทุนสนับสนุนกองทุนวิจัยจาก ISUZU ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา บริษัทอีซูซุ ได้บริจาคเงินสนับสนุนกองทุนวิจัยให้กับภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จำนวน 200,000 บาท ณ ห้องสวนรวมใจ 2 อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ ทางภาควิชาฯ ขอขอบคุณ ทางกลุ่มบริษัทอีซูซุ มา ณ โอกาสนี้

อาจารย์วิศวฯ ผนึกความร่วมมือแพทย์จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คว้ารางวัลรองชนะเลิศ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 เริ่มปฏิบัติงานแล้ว ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่ อนาคตวางแผนให้ผู้ป่วยยืมหุ่นยนต์ไปใช้ที่บ้าน

อาจารย์วิศวฯ ผนึกความร่วมมือแพทย์จุฬาฯ พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คว้ารางวัลรองชนะเลิศ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 เริ่มปฏิบัติงานแล้ว ในโรงพยาบาล 12 แห่งทั่วประเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตใหม่ อนาคตวางแผนให้ผู้ป่วยยืมหุ่นยนต์ไปใช้ที่บ้าน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงมีโอกาสฟื้นฟูร่างกายและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Robotic Rehabilitation for Stroke Patients) ที่พัฒนาโดยทีมวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ “หุ่นยนต์นี้จะฝึกให้ผู้ป่วยใช้งานแขนและขาแบบซ้ำๆ กระตุ้นการสั่งการของสมองโดยฝึกร่วมกับระบบเกมที่ทำให้การฝึกน่าสนใจ ช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติ” ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีหุ่นยนต์อธิบายการทำงานของหุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่นำไปฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแล้วที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง หุ่นยนต์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง ศ.ดร.วิบูลย์ กับทีมจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ นพ.วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล รองศาสตราจารย์ พญ.กฤษณา พิรเวช และ พญ.พิม ตีระจินดา ในนามทีมCUREs (Chulalongkorn University Rehabilitation Exoskeleton/End Effector system) ซึ่งล่าสุดคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทหุ่นยนต์และซอฟต์แวร์เพื่อบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข จากการประกวดหุ่นยนต์ทางการแพทย์ i-MEDBOT Innovation Contest 2021 จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ…

สุดยอดฝีมือคนไทย หุ่นฝึกตรวจจอตา “OPH-SIM” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และคณะวิศวะฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศหลายเท่า

สุดยอดฝีมือคนไทย หุ่นฝึกตรวจจอตา “OPH-SIM” โดยทีมวิจัยคณะแพทย์และคณะวิศวะฯ จุฬาฯ ฝึกนิสิตและแพทย์ให้เชี่ยวชาญการตรวจจอตา ประหยัดงบนำเข้าหุ่นฝึกตรวจจากต่างประเทศหลายเท่า

การตรวจวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับจอตาเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำเพื่อความสบายตาของคนไข้ที่ไม่ต้องจ้องแสงจ้านานเกินไป ซึ่งตรงนี้ต้องการทักษะความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของแพทย์ผู้ตรวจ หุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ในการเรียนการสอนนิสิตแพทย์ปัจจุบัน มีการใช้หุ่นฝึกตรวจจอตาอยู่แล้ว แต่เป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพง และไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการฝึกและเรียนรู้กรณีศึกษาได้มากนัก ทีมวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล รองศาสตราจารย์ นพ.ศุภพงศ์ ถิรคุณวิชชะ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ศรีธุระวานิช ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงร่วมกันพัฒนา “Oph-Sim” หุ่นฝึกตรวจจอตา ฝีมือคนไทย เพื่อให้นิสิตและแพทย์ที่สนใจฝึกฝนทักษะการตรวจจอตาได้อย่างมีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลง รศ.พญ.สุภรัตน์ จริยโกศล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “ทักษะการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของขั้วประสาทตาและจอตา เป็นทักษะสำคัญของแพทย์ทั่วไปและแพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา เนื่องจากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับตาและโรคอื่นๆทางระบบประสาทที่สำคัญได้ เช่น ขั้วประสาทตาบวมจากความดันในสมองสูง จอตาเสื่อมเหตุเบาหวาน และต้อหิน” รศ.พญ สุภรัตน์ กล่าว การฝึกตรวจจอตาด้วยหุ่นฝึกตรวจจอตา Oph-Sim ผ่านอุปกรณ์ direct ophthalmoscope “ที่ผ่านมา นิสิตแพทย์ฝึกการตรวจจอตาด้วยเครื่อง direct ophthalmoscope กับหุ่นฝึกตรวจตาที่นำเข้าจากต่างประเทศ…

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564

สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่เว็บของราชกิจจานุเบกษา http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/004/T_0022.PDF

WFH FOR LABORATORY

WFH FOR LABORATORY

Play Video เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด จุฬาฯ ได้ปรับแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนเป็นรูปแบบออนไลน์ 100% ทำให้การเรียนการสอนวิชาปฎิบัติการถูกปรับไปเป็นรูปแบบ LAB Clips และ Online data เพื่อใช้สำหรับสอนแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ด้วยความร่วมมือของอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เราได้พัฒนาชุด Laboratory@Home ซึ่งเป็นชุดทดลอง สำหรับการเรียนวิชาปฏิบัติการที่บ้าน ชุดทดลองดังกล่าวมีคุณภาพเทียบเท่ากับชุดทดลองที่ใช้ที่มหาวิทยาลัย แต่ขนาดเล็ก ใช้งานง่าย ราคาถูก คงทน และสามารถส่งไปยังบ้านของนิสิตทางไปรษณีย์ได้ ขณะนี้ชุด Laboratory@Home: Stress Analysis in Beam ได้พัฒนาเสร็จสิ้นและใช้ในการเรียนการสอนในภาคต้น ปีการศึกษา 2564 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และทางอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล กำลังพัฒนาชุดทดลอง PID Motion Control with Matlab ต่อไป ซึ่งจะใช้สำหรับให้นิสิตทำการทดลองที่บ้านในภาคการศึกษานี้เช่นเดียวกัน อาจารย์ในมหาวิทยาลัยหรือคุณครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมที่สนใจชุดทดลองสำหรับการเรียนการสอนนักเรียนในมหาวิทยาลัยหรือในโรงเรียน สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดมาที่ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (ติดต่อ กฤษฎา email: gridsada.phanomchoeng@gmail.com)

กิจกรรมพัฒนางานบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจําปี 2564

กิจกรรมพัฒนางานบุคลากรสายปฏิบัติการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประจําปี 2564

คู่มือปฏิบัติงาน Work From Home เป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากการร่วมแรงร่วมใจร่วมกัน คิด วิเคราะห์ และนําเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานในสถานการณ์ปัจจุบัน ช่วยอํานวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทุกระดับ ทําให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ลดข้ันตอนการทํางานท่ีซ้ําซ้อน และลดระยะเวลาในการ ทํางาน อีกทั้งยังทําให้บุคลากรทุกหน่วยงานสามารถปฏิบัติงาน Work From Home ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐาน ทําให้การปฏิบัติงานประสบความสําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ สามารถติดตามเอกสารได้ ครบถ้วนเรียบร้อยและเป็นไปตามกําหนดระยะเวลา ทําให้เกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของทุกๆ ฝ่าย มาจากต่างหน่วยงานของ 3 ภาควิชาฯ อันได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และภาควิชาวิศวกรรมส่ิงแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ คู่มือปฏิบัติงาน Work From Home

บริการตรวจสอบค่า PRIMARY ENERGY SAVING (PES) ประจำปี 2564 ของโรงไฟฟ้าเบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น

บริการตรวจสอบค่า PRIMARY ENERGY SAVING (PES) ประจำปี 2564 ของโรงไฟฟ้าเบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น

วันที่ 25-26 มีนาคม 2564 ผศ.ดร.สรัล ศาลากิจและคณะทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานกลางซึ่งขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้ตรวจสอบและคำนวณค่าดัชนีชี้วัดความสามารถในการใช้พลังงานปฐมภูมิในกระบวนการผลิตพลังงานความร้อนและพลังงานไฟฟ้าร่วมกันหรือค่า Primary Energy Saving (PES) ของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วมของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กและเล็กมาก (SPP/VSPP) ดำเนินการตรวจสอบการใช้พลังงานเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และการจ่ายพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากไอน้ำของโรงไฟฟ้าเบิกไพร โคเจนเนอเรชั่น สำหรับประกอบการคำนวณและรายงานค่า PES ประจำปี 2564

นวัตกรรม “เตียงในโรงพยาบาลอัจฉริยะ” ของจุฬาสามารถช่วยป้องกันการหกล้มได้

นวัตกรรม “เตียงในโรงพยาบาลอัจฉริยะ” ของจุฬาสามารถช่วยป้องกันการหกล้มได้

เตียงอัจฉริยะ 5G ซึ่งเป็นนวัตกรรมต้นแบบในการป้องกันผู้ป่วยสูงอายุจากการหกล้มทั้งในโรงพยาบาลและในบ้านจัดแสดงร่วมกันโดยวิศวกรรมจุฬา, กลุ่มทรู, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทย นวัตกรรม“ เตียงในโรงพยาบาลอัจฉริยะ” ของจุฬาสามารถช่วยป้องกันการหกล้มได้ การหกล้มเป็นอุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกี่ยวกับผู้สูงอายุและเตียงในโรงพยาบาลซึ่งก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงสำหรับเด็กและผู้ดูแล ปัญหานี้ร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุที่มีการเคลื่อนไหว จำกัด ซึ่งไม่มีผู้ดูแลอยู่ข้างเตียงตลอดเวลา วิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสภากาชาดไทยได้ร่วมกันสร้าง“ เตียงในโรงพยาบาลอัจฉริยะ” เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสำหรับผู้สูงอายุ “ เตียงในโรงพยาบาลในปัจจุบันเป็นแบบแผ่นดันซึ่งประกอบด้วยโฟมและสปริงและสามารถรับรู้ได้เฉพาะผู้ป่วยที่นอนอยู่บนที่นอนเท่านั้น เสียงเตือนดังขึ้นหลังจากผู้ป่วยตกจากไปเท่านั้น” อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวขณะแนะนำ“ เตียงอัจฉริยะ” “ กุญแจสำคัญของเตียงอัจฉริยะคือเซ็นเซอร์ 5G คอยตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยบนเตียงขณะพยายามนั่งหรือลงจากเตียง สัญญาณเตือนจะดังขึ้นเพื่อให้ผู้ดูแลช่วยเหลือได้ทันที” ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการอธิบายว่าเตียงอัจฉริยะมีเซ็นเซอร์วัดความเครียดเพื่อตรวจสอบจุดกดทับและน้ำหนักของผู้ป่วย เซ็นเซอร์เหล่านี้จะตรวจสอบตำแหน่งของผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบว่าพวกเขามีความเสี่ยงที่จะตกหรือไม่ เซ็นเซอร์ม่านแสงจะตรวจสอบการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอย่างแม่นยำและทันทีในขณะที่เซ็นเซอร์ปรับตำแหน่งหัวเตียงจะตรวจสอบท่าทางของผู้ป่วย “ เซ็นเซอร์ทั้งหมดเชื่อมต่อและควบคุมด้วยเทคโนโลยี 5G ข้อมูลที่ประมวลผลแล้วจะถูกส่งไปยังระบบคลาวด์ที่เชื่อมต่อกับศูนย์ตรวจสอบและโทรศัพท์มือถือของแพทย์และพยาบาลดังนั้นพวกเขาจึงสามารถติดตามการเคลื่อนไหวและตำแหน่งของผู้ป่วยได้แบบเรียลไทม์และสามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันทีหากจำเป็น “เขากล่าว ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าอุปกรณ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อปรับให้เข้ากับเตียงในโรงพยาบาลได้หลากหลาย นอกจากนี้ยังง่ายต่อการถอดและติดตั้งในขณะที่ราคาไม่แพงมาก ขณะนี้นวัตกรรม Smart Hospital Bed อยู่ระหว่างขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตรกับสถาบันทรัพย์สินทางปัญญา วิศวฯ จุฬาฯ และกลุ่มทรูส่งมอบเตียงอัจฉริยะเหล่านี้ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อทำการทดสอบภาคสนาม ในอนาคตจะถูกนำไปใช้ในหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั้งหมด เผยแพร่: 27 เมษายน 2564 โดย:…

สัมมนา “การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศไทย” ภายใต้โครงการ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่อุตสาหกรรมยานยนต์อัตโนมัติ

สัมมนา “การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศไทย” ภายใต้โครงการ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่อุตสาหกรรมยานยนต์อัตโนมัติ

สัมมนา “การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยียานยนต์ของประเทศไทย”ภายใต้โครงการ การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสู่อุตสาหกรรมยานยนต์อัตโนมัติวันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 08.30 – 16.30 น.ณ ห้อง 201B ชั้น 2 อาคารวิศวฯ 100 ปี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในสังคม รวมทั้งรูปแบบการเดินทางในอนาคตที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยต้องมีความอัจฉริยะ มีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดเป็นยานยนต์สมัยใหม่ที่ประกอบด้วยยานยนต์ที่สามารถเชื่อมต่อกับสิ่งต่าง ๆ (Connected) ยานยนต์มีความสามารถขับขี่อัตโนมัติ (Automated) การใช้งานยานยนต์ร่วมกัน (Shared) และการใช้ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (Electrified) หรือเรียกโดยรวมว่า C-A-S-E Technology จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียานยนต์ดังกล่าวส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งในด้านโอกาสและความท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เทคโนโลยียานยนต์อัตโนมัติจะมาควบคู่กับเทคโนโลยียานยนต์เชื่อมต่อ ที่เรียกรวมกันว่ายานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ (Connected and Autonomous Vehicle: CAV) ซึ่งเทคโนโลยี CAV…