ห้องปฎิบัติงานวิจัยพลังงาน

Home ห้องปฎิบัติงานวิจัยพลังงาน ENERGY EFFICIENCY AND ALTERNATIVE ENERGY UNIT 1) ให้คำปรึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานทั้งด้านเทคนิค ด้านการจัดการและด้านกฎหมาย 2) จัดการอบรม in-house ในหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงาน 3) ให้บริการตรวจวัดและวิเคราะห์การใช้พลังงานและประสิทธิภาพพลังงาน ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ในอาคารและโรงงานทั้งในระดับการใช้งานทั่วไปและระดับเชิงลึก 4) ให้บริการตรวจสอบค่า Primary Energy Saving (PES) ของโรงไฟฟ้าในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางที่ขึ้นทะเบียนกับ กกพ. รูปภาพห้องปฎิบัติงานวิจัยพลังงาน

ห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Home ห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CHULALONGKORN UNIVERSITY ROBOTICS LABORATORY (CURL) ทำการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบหุ่นยนต์ ระบบพลศาสตร์ ระบบแมคคาทรอนิกส์ และการควบคุม มีหัวข้อที่อยู่ในความสนใจ อาทิเช่น UAV, Mobile robots, Cooperative control, Motion & Force control, Medical robots and devices, Rehabilitation robots, Service robots ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ รศ.ดร.พงศ์แสน พิทักษ์วัชระ ตึกฮันส์ บันตลิ ชั้น 3 ห้อง 306 (ห้องพักอาจารย์) ตึกเจริญวิศวกรรม ชั้น 9 ห้อง 904/1 (ห้องปฏิบัติการ) โทร 02-218-6623 อีเมล์ phongsaen@gmail.com เวปไซต์ http://pioneer.chula.ac.th/~pphongsa รูปภาพห้องปฏิบัติการวิจัยหุ่นยนต์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม

Home ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม ( BUILDING TECHNOLOGY & ENVIRONMENT ) บทนำ ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีอาคารและสิ่งแวดล้อม เป็นห้องปฏิบัติการศึกษาและวิจัยเพื่อนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจนการปรับปรุงเทคโนโลยีเดิมที่ใช้ในการออกแบบระบบต่าง ๆ ในอาคารเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการใช้ชีวิตภายในอาคารอีกทั้งให้สอดคล้องและไปกันได้ดีกับสภาพแวดล้อมโดยรวม ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้เกิดความตื่นตัวและตระหนักถึงสมรรถนะและความสามารถของอาคารที่มีต่อการใช้พลังงานและสภาพแวดล้อมตลอดอายุการใช้งานของอาคาร รวมทั้งผลักดันให้เกิดการพัฒนาองคืความรู้ในงานออกแบบระบบต่าง ๆ ในอาคารให้มีมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนและสร้างงานวิจัยที่มีความต่อเนื่องซึ่งเป้นสิ่งสำคัญฯในการพัฒนาและส่งเสริมให้งานวิจัยสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นการวางพื้นฐานการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลไปสู่การปฏิบัติ2. เพื่อสนับสนุนงานวิจัยในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลซึ่งจะเป้นฐานสนับสนุนการผลิตผลงานทางวิชาการสำหรับการประชุมสัมมนาและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ3. เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อในการนำเสนอศักยภาพในองค์ความรู้ของภาควิชาฯ ไปสู่บุคคลภายนอกและองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ4. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน Building Technology and Environment และเผยแพร๋ออกสู่สาธารณะ แนวทางวิจัย/ปฏิบัติการ/สอน 1. ทางด้าน HVAC &R จะเน้นทางด้านต่าง ๆ เช่น – HVAC Simulation– Building & HVAC Design for Sustainability– Cogeneration, Thermal Storage– CFD…